++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549

การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมกรเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง น้ำใจชาวนา ชั้นประถมศึกษาปีที่


ผู้ศึกษาค้นคว้า นางจิตรถ กุลวิเศษ กศ.ม หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2547
อ.ที่ปรึกษา อ.คุญช่วย ปิยวิทย์

บทคัดย่อ

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารและเรียนรู้ของคนไทย และการเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จได้ ผู้สอนต้องมีการวางแผนจัดกิจกรรมที่ดีและเหมาะสม ดังนั้น การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมกลุ่มการเรียนรู้กลุ่มสาระกลุ่มการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง น้ำใจชาวนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง น้ำใจชาวนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนบ้านหญ้าคา ว.ท.อ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เวลาในการทดลอง 16 ชั่วโมงทั้งนี้ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการทดสองก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง น้ำใจชาวนา จำนวน 8 แผน หนังสือประกอบการเรียน เรื่องน้ำใจชาวนา จำนวน 1 เล่ม แบบฝึกทักษะ จำนวน 10 ชุด แบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .22 ถึง 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .82 และแบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน จำนวน 8 ชุด สถิติที่ใช้ ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง น้ำใจชาวนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.50/83.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.6850 หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.50
โดยสรุป แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง น้ำใจชาวนา ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ด้านทักษะการใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี จึงขอสนับสนุนให้ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 นำแผนการจัดกิจกรรมกาเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาค้นค้าพัฒนาขึ้นไปใช้ในการสอนภาษา ไทย จะช่วยให้นักเรียนประสลผลสำเร็จทางการเรียนภาษาไทย


วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549

Participatory action Research of Product Development , A case study: The Development of virgin Coconut Oil Product by the Women Groups of Au-Noi Herba

Participatory action Research of Product Development , A case study: The Development of virgin Coconut Oil Product by the Women Groups of Au-Noi Herbal House, Parchuapkhirikhan Province.
ทรงพล คูณศรีสุข, นฤมล จียโชค, ทศพร ทองเที่ยง สุเมธ ท่านเจริญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

The development of virgin coconut oil products by the women groups of Au-Noi herbal house, Prachuakhirikhan Province is considered a participatory action research (PAR), a collaboration work between researchers and the community. This collaborative research and product development utilized SWOT analysis as a tool to recognize the PAR is strengths, weaknesses, opportunities and threats, leading to a better R&D and management.

The PAR showed that micron polyethylene filtering clothe reduced turbidity of the virgin coconut oil. Further, sodium chloride salt absorbs moisture from the coconut oil. This knowledge was adapted to the virgin oil production process, since it is rather cost effective and simple to operate. Once the coconut virgin oil product development succeeded, the benefit falls back to farmers and community.

จากการประชุมวิชาการ การบูรณาการเทคโนโลยี สังคมกับชุมชน คณะศิลปศาสตร์
King Mongkut’s university of technology Thonburi
September 22, 2006

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549

ก้าวกระโดดใหม่สู่การพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่ผ่านมามีหลักฐานหลายประการบ่งชี้ว่า ประเทศไทยของเราใช้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่เพียงพอในการพัฒนาความรู้
เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงมีภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องผลัก
ดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับ
คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบัน รัฐบาลมักจะถูกตั้ง
คำถามที่จะต้องตอบให้ได้เสมอว่ามีทิศทางใน การพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมอย่างไร จะทำอะไรคือทำแล้วได้อะไร หากประเทศชาติจะลง
ทุนไม่ว่าด้านใดเราก็ต้องตอบให้ได้ว่าหวังที่จะให้ประเทศมีอะไรดีขึ้นเช่นเดียวกัน
การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ควรที่จะสอดคล้อง
กับแนวนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ แล้วผลที่คาดว่าจะได้รับนั้นคือ
อะไร แนวความคิดของ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีความเห็นใน 3 ลักษณะ ดังนี้

ด้านแรก คือความรู้ หากเราลงทุนทั้งเงินและทรัพยากรอื่นๆ แล้ว
ประเทศชาติไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ให้เป็นสมบัติของชาติเราได้ และ
ยังต้องซื้อความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศอื่นอยู่ร่ำไป
ก็จะไม่คุ้มทุน

ด้านที่สอง ที่มองเห็นคือทางด้านเศรษฐกิจและการจ้างงานหากเรา
มีความรู้แต่ไม่สามารถคิดกลไกหรือกลยุทธ์ที่จะทำให ้ภาคเศรษฐกิจ ทั้ง
อุตสาหกรรมการบริการ รวมทั้งการค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
มีความเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น เราก็จะไม่สามารถที่จะ
ประกอบธุรกิจ ให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้

ด้านสุดท้าย ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน คือ คุณภาพชีวิตและสังคม
หากเรามีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีแต่ไม่ใส่ใจในการรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังไม่ใส่ใจต่อคนด้อยโอกาสคนยากไร้คน
ห่างไกลใน ชนบทปล่อยให้เกิดช่องว่างในสังคมก็ยากที่
จะจรรโลงให้มีความยั่งยืนในชาติได้ ดังนั้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะ
ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ และที่สำคัญต้องสามารถสร้างให้เกิดผลอย่างเด่นชัดและอย่างยั่งยืนได้ เราจึง มี
ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้สร้าง
สรรค์ให้เกิดผลดี เพื่อความมั่นคงของประเทศในสามลักษณะดังกล่าว
ข้างต้นให้ได้ คำถามที่มักเกิดขึ้นเสมอ คือ การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีนั้น กระจายอยู่ทั่วไปในสังคมที่ใหญ่โตระดับชาติ และหากลงทุน
แล้วจะเกิด ผลประโยชน์อย่างไรต่อประเทศชาติบ้างและจะสอดคล้อง
กับทั้งสามประด็น ที่กล่าวข้างต้นได้อย่างไร เพื่อให้สามารถมอง
เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม การลงทุนจะต้องลงทุนใน 4 ด้าน

ด้าน แรก คือ คนหรือทรัพยากรบุคคล (Human Resource & Development) เราจะต้องลงทุนทางด้านการศึกษาให้กับคนไทย เพื่อให้มีแนวความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้นอย่าง
น้อยก็ให้รู้จักคิดและปฏิบัติอย่างมีเหตุผลไม่หลงเชื่ออย่างงมงาย และถ้า
ให้ดียิ่งขึ้นก็คือ การพัฒนาไปจนถึงขั้นที่สามารถรู้จักนำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการ
ประกอบอาชีพในทุกระดับและเพิ่มการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสถาบันการศึกษาโรงเรียนและสถาบันอุดม
ศึกษา หรือแม้กระทั่งคนที่กำลังทำงานอยู่เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของกระแสโลกทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้าน ที่สอง คือ การวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม (Research & Development) นอกจากจะเน้นให้คนทั่วไปมีพื้นฐานของแนวความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแล้วเราจะต้องกล้าที่จะลงทุนในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ให้เกิดใน ประเทศเราเองทั้งการวิจัยพื้นฐาน
การพัฒนาต้นแบบ และการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมให้เป็นผลิตผลและ
ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าทางเศรษฐกิจและสังคมจึงจะช่วยเพิ่มมูลค่าและรายได้
เป็นการช่วยผลักดันเศรษฐกิจ ให้กระเตื้องอีกทางหนึ่ง

ด้านที่สาม คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หากปราศจากโครง
สร้าง พื้นฐานแล้วก็ยากที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเลื่อนไหลสู่
ภาคเศรษฐกิจ และสังคมได้รวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ
กระแสเทคโนโลยีที่จะทำให้ประเทศไทยของเราสามารถแข่งขันกับ
ประเทศอื่นๆ ได้ อาทิ การลงทุน ในโครงการไทยสารส่งผลให้สถาบันระดับอุดมศึกษามีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในลักษณะอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จึงทำให้เกิดความ
เลื่อนไหลของสารสนเทศในระบบการศึกษาการค้นหาส่งและ
แลก เปลี่ยนความรู้เปลี่ยนรูปแบบจากการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ไปเป็นเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ทำให้มหาวิทยาลัยผลิตความรู้และบุคลากร ป้อนเอกชนจนเกิดธุรกิจภาคเอกชนมาจนทุกวันนี้ โครงการ
เขตอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์หรือ "ซอฟต์แวร์พาร์ค" (Software Park) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นได้รับการตอบสนองค่อนข้างดีก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการ ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ
รัฐบาล ที่ทำให้เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์เลื่อนไหลกลายเป็นผลดีทางด้านเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นต้น

ด้านที่สี่ คือ การแพร่กระจายของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศ
ทั้งจากภาครัฐและเอกชนทุกฝ่ายต่างก็มีความคาดหวังและมีความต้องการที่จะเห็นการแพร่กระจายของวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ไปสู่ภาคเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จากแหล่งของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีภายในประเทศเป็น
สำคัญ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนเพื่อให้เกิดกลไกการกระจายของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี บ่อยครั้งที่กลไกดังกล่าวจะต้องลง ทุนทั้งฝ่ายที่เป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝ่ายที่เป็นผู้รับการถ่ายทอด
เทคโนโลยี ประเทศที่เข้าใจเรื่องนี้เช่น ประเทศเกาหลีใต้ จะมีธนาคาร
เทคโนโลยีเพื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่เอกชนที่ประสงค์จะลงทุนด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศแคนาดามีโครงการไอแร็ป (IRAP ย่อมา
จาก Industrail Research Assistance Project) ซึ่งได้ประสบความ
สำเร็จมาเป็นเวลา 50 ปี จนถึงปัจจุบัน n


ใน การชักนำให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม ให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ช่วยปรับปรุงการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก แหล่งของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตอย่างได้ผลคุ้มค่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการเชื่อมโยง ดังกล่าว เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนแต่ละราย ประเทศไทยได้ริเริ่มโครงการนำร่องคล้ายไอแรปของแคนาดาและประสบความสำเร็จใน
หลายโรงงาน ขณะนี้ได้เสนอโครงการให้กว้างขวางมากขึ้นครอบคลุมประมาณ 2,500
โรงงานภายในระยะเวลา 5 ปี เรียกว่า "โครงการไอแทป" (ITAP ย่อมาจาก Industrial Technology Assistance Project)
คาดว่าจะได้รับการอนุมัติ จากรัฐบาลในเร็วๆ นี้ ความอยู่รอดของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
จนกระทั่งสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงและอย่างยั่งยืนต่อไป
เพื่อ เป็นการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้เล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงได้จัดให้บริการสำหรับภาคเอกชนโดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้


กิจกรรม บริการปรึกษาปัญหาทางอุตสาหกรรม (Industrial Consultancy Services : ICS) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมไทยในรูปแบบของการให้ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิค จากเครือข่ายทั้งใน
และต่างประเทศเข้าช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้สามารถ
ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูงขึ้นและมี โครงการสนับสนุนการพัฒนาสมรรถภาพในการเลือกและรับ
เทคโนโลยี (Support for Technology Acquistition and Mastery Program : STAMP) โครงการสนับสนุนการพัฒนาสมรรถภาพในการเลือก และรับเทคโนโลยีนี้ ได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ให้มีโอกาสเสาะหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่
หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากต่างประเทศ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่
รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเจรจาธุรกิจกับบริษัทต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การ
เลือกและรับเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับบริษัทต่อไป

นอกจากนี้ แล้ว สวทช. ยังมีการให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา
(Intellectual Property Services : IPS) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้บริการใน
การดำเนินการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของ สวทช. ในการให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเอกสารสิทธิบัตร แก่หน่วยงาน ของ สวทช. และภาคเอกชน
และ สวทช. ได้ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมของภาคเอกชน (Company Technology Development Program : CD) เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการเงินทั้งในรูปแบบของเงิน กู้ดอก
เบี้ยต่ำ (ซึ่ง สวทช.ให้การสนับสนุนได้ในวงเงิน 20 ล้านบาท) และเงินทุนให้
เปล่า (ซึ่งให้การสนับสนุนได้ในวงเงิน 3 ล้านบาท) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมปรับปรุงเทคโนโลยีและทำการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาบริการ ที่ สวทช.มีให้กับภาคเอกชน
อีกอย่างหนึ่งก็คือ การลงทุนเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Investment in New Ventures for Enhancing Science and Technology : Invest) ซึ่งได้ถูกกำหนดให้เป็นโครงการหลัก เพื่อเป็นไปตามแผนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบัน สวทช.ได้ร่วมลงทุนกับภาคเอกชนและ
ประสบผลสำเร็จเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการประกอบการดีเยี่ยมคือ บริษัท
อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด และอีกบริษัทหนึ่งคือ บริษัท เอ็นทียู (ประเทศไทย) จำกัด
ที่ ให้บริการศึกษาทางไกลผ่านระบบดาวเทียม จาก จำนวน 40 มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี และจัดการฝึกอบรมประชุมสัมมนาทางวิชาการให้แก่หน่วยงานและบุคคลทั้ง
จากภาครัฐและภาคเอกชนด้วย

สรุปว่า ประเทศไทยจะต้องลงทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4
ด้านดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ 3 ด้านคือ การพัฒนา
ความรู้ เศรษฐกิจและการจ้างงาน และคุณภาพชีวิตและสังคม โดยอาศัยวิธีการบริหารกระบวนการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการจัด
รูปแบบการบริหารองค์กรเป็นส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนงานกลาง (Central Office)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศูนย์
เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เน้นเทคโนโลยีทั้งสามสาขาหลักเป็น สำคัญ
แต่ ได้มีการจัดระบบให้มีกระบวนการบริหารการลงทุนให้เกิดผลอย่าง กะทัดรัด ตามลักษณะของงานเพื่อให้สอดคล้อง และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นับว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะ
ช่วยผลักดั นให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมไทยได้
ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องได้รับความร่วมมือและร่วมใจจากทุก ฝ่ายทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน
ในการช่วยเป็นแรงผลักดันให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันคือ การพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของประเทศไทย และเป็น
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จนกระทั่งสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง
อย่างมั่นคงและอย่างยั่งยืนต่อไป

การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านอีเมล์

ปัจจุบัน การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมจากสาธารณชนเป็นอย่างมาก อันจะเห็นได้จากปริมาณสมาชิกผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน พร้อมกับการมีเว็บไซต์เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากหากจะนับปริมาณผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำจากจำนวนของอีเมล์ที่ ถูกส่งไปมาทั่วโลก ก็จะพบว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจของสำนักวิจัยฟอเรสเตอร์ซึ่งระบุว่าจำนวนผู้ใช้ อีเมล์ราวๆ แสนรายในปลายคริสตทศวรรษ 70 นั้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 50 ล้านรายในปี ค.ศ. 1997 และเพิ่มขึ้นจนทะลุตัวเลข 100 ล้านราย ในปลายปี ค.ศ.20001 นอกจากนั้น ยังส่งผลให้ราคาหุ้นของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ตในตลาด หุ้นสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปลุกกระแสความสนใจของผู้คนในสังคมไทยให้ต้องศึกษาทำความเข้าใจคำศัพท์ ใหม่ๆ ในเชิงธุรกิจที่ติดตามมา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ อี-คอมเมิร์ซ อี-บิสสิเนส หรือ อี-แบงก์กิ้ง ฯลฯ ซึ่งต่อมาความสนใจในเรื่องอินเตอร์เน็ตได้เริ่มขยับขยายออกไปสังคมวงกว้าง ขึ้นเรื่อยๆ อย่างการให้คำปรึกษาของแพทย์ผ่านอีเมล์ที่ผู้เขียนกำลังจะนำมาเสนอให้กับ ผู้อ่านนี่ก็เป็นถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

"สหรัฐอเมริกา" ต้นแบบอีเมล์การแพทย์
กระแสความนิยมของ อินเตอร์เน็ตนั้นมิได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะแวดวงธุรกิจการค้าทั่วๆ ไปเท่านั้น แต่มันยังส่งผลกระทบต่อรูปแบบการให้บริการทางการแพทย์อีกด้วย เริ่มมีการนำเอาอีเมล์มาใช้เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย จนทำให้คณะกรรมการบริหารของสมาคมสารสนเทศการแพทย์ของสหรัฐฯ (AMIA : American Medical Informatics Association, http://www.amia.org) ต้องรีบตั้งคณะทำงานขึ้นมาสรุปหามาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับการให้คำปรึกษาทาง การแพทย์ผ่านอีเมล์ เพื่อนำเสนอสู่ผู้คนที่เกี่ยวข้องในวงการแพทย์สหรัฐฯ ภายใต้ประเด็น "ข้อเสนอแนะสำหรับการใช้อีเมล์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์กับผู้ป่วย (Guidelines for the Clinical Use of Electronic Mail with Patients)

บท ความ Guidelines for the Clinical Use of Electronic Mail with Patients ที่ว่านี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านทั้งสื่อกระดาษอย่างวารสาร JAMIA (Journal of the American Medical Informatics Association) ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ของเดือนมกราคม/กุมภาพันธ์ 2541 (วารสาร JAMIA มีกำหนดออก 2 เดือนหนึ่งฉบับ) และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทางเว็บไซต์ http://www.amia.org/pubs/pospaper/positio2.htm ทั้งนี้ ความตื่นตัวของ สมาคมสารสนเทศการแพทย์ของสหรัฐฯ นั้น สืบเนื่องมาจากเหตุผลว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตมากที่สุดในโลก โดยมีรายงานการวิจัยระบุว่าบรรดาองก์รธุรกิจสหรัฐฯ ได้แจกจ่ายบัญชีสมาชิกอีเมล์ให้กับพนักงานของตนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ล้าน ถึง 40 ล้านราย จนอาจจะกล่าวได้ว่ากว่า 15 % ของอเมริกันชนนั้นมีเลขรหัสอีเมล์เป็นของตนเอง 2

ประโยชน์ที่วง การสาธารณสุขสหรัฐฯ จะได้รับจากการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างอีเมล์มาใช้เป็นบริการเสริมนอก เหนือไปจากการตรวจรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลตามปรกติ ก็คือ มันจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความล่าช้าเนื่องจากปริมาณของบุคคลากรทางการแพทย์ ที่มีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาไปทนรอหนห้องตรวจโรคอย่างเนิ่นนานนับเป็น ชั่วโมง เพียงเพื่อจะได้พบปะพูดคุยกับแพทย์เพียงไม่กี่นาที เพระการนำเอาช่องทางสื่อสารผ่านอีเมล์มาให้บริการผู้ป่วยจะช่วยให้แพทย์ สามารถคัดกรองผู้ป่วยที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนออกไปจากกลุ่มคนที่มารอ หน้าห้องตรวจ ทำให้การติดตามผลการตรวจรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องมมากขึ้นในผู้ป่วยบางราย และทำให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วยมีเวลาตริตรองมากขึ้นในระหว่างการเจรจาโต้ตอบ กัน อันจะส่งผลให้สามารถพินิจพิจารณาความเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างละเอียดรอบคอบมาก ขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการให้บริการทางการแพทย์ผ่านอีเมล์จะมีข้อดีอยู่มาก แต่มันก็มีข้อจำกัดและข้อควรระวังอยู่ด้วยเช่นกัน อย่างแรกที่เห็นได้ชัด คือเรื่องความล่าช้าของการรับ/ส่งอีเมล์ที่กว่าผู้รับกับผู้ส่งจะได้สื่อ สารกันครบวงจรก็มักจะต้องกินเวลาหนึ่งวันหรือสองวันขึ้นไป อย่างที่สอง คือความวิตกจริตของผู้ป่วยที่อาจจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อไม่ได้รับการสื่อสาร บอกเล่ากันอย่างตัวต่อตัวกับแพทย์ และความวิตกจริตนั้นอาจจะยิ่งเลวร้ายลงไปหากผสมผสานไปด้วยการใช้ภาษาที่ คลุมเครือ ที่สำคัญ แพทย์จะต้องไม่ลืมว่าการรักษาความลับของผู้ป่วยนั้นคือจรรยาบรรณหลักของ แพทย์ที่มิอาจจะละเมิดได้ ฉะนั้น เมื่อตกลงปลงใจว่าจะใช้อีเมล์เป็นช่องบริการเสริมให้กับผู้ป่วยของตนก็ควร จะคำนึงถึงมาตรการในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่มีสื่อสารผ่านอีเมล์ ไว้ด้วย

อีกอย่าง เรื่องราวของการใช้อินเทอร์เน็ตและอีเมล์เป็นช่องทางบริการทางการแพทย์ใน สหรัฐฯ นั้น ยังคงถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่มาก เนื่องจากตัวเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเองเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่วงการแพทย์ อเมริกันได้ไม่นานนัก เช่น เคยมีการสำรวจอัตราการใช้คอมพิวเตอร์ของแพทย์อเมริกันไว้ครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1996 ระบุว่ามีแพทย์อเมริกันเพียง 50 % เท่านั้น ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ และในจำนวนแพทย์ครึ่งหนึ่งนี้ ก็มีเพียง 20 % เท่านั้นที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต 3 ฉะนั้น หากคิดจะทำให้อินเmอร์เน็ตและอีเมล์เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ ป่วยได้จริง บรรดาโรงพยาบาลทั้งหลายทั่วสหรัฐฯ ก็จะต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และรหัสอีเมล์ให้กับแพทย์ของตนอย่างครบ ถ้วนเสียก่อน

ข้อสังเกตที่ว่านี้สอดคล้องกับผลการสำรวจของนีล และคณะ 4 ที่สอบถามผู้ป่วยจำนวน 117 ราย ซึ่งรหัสอีเมล์เป็นของตนเอง ว่าได้ใช้อีเมล์เป็นช่องทางสื่อสารกับแพทย์ของตนบ้างหรือไม่ ? พบว่ามีผู้ป่วยไม่ถึง 30 % ที่ตอบว่าแพทย์ของตนมีรหัสอีเมล์ให้ติดต่อได้ และมีเพียงราวๆ 10% หรือ 10 คนเท่านั้นที่ได้ใช้อีเมล์ติดต่อกับแพทย์ผู้รักษาตน

ส่วนในบรรดา ผู้ป่วยที่ไม่เคยใช้อีเมล์ติดต่อกับแพทย์ของตนนั้น กว่าครึ่งบอกว่าไม่เคยคิดจะใช้อีเมล์ติดต่อกับแพทย์เลย ส่วนผู้ป่วยอีก 30 % บอกว่าไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ มีบางคนบอกว่ากลัวเรื่องที่ปรึกษาแพทย์จะไม่เป็นความลับ ในขณะที่มีบางคนบอกว่าการใช้อีเมล์นั้นไม่ค่อยสะดวก อย่างไรก็ตาม เมื่อ นีลสอบถามลงลึกไปในบรรดาผู้ป่วยที่มีการใช้อีเมล์ติดต่อกับแพทย์ของตน ก็ได้ความทุกคนพึงพอใจในช่องทางสื่อสารใหม่นี้ด้วยกันทั้งนั้น
กระนั้น ยังมีข้อสังเกตว่าอัตราการใช้อีเมล์เพื่อเหตุผลการแพทย์นั้นอาจจะแตกต่าง กันไปได้บ้างตามสภาพประชากร และทำเลที่พักอาศัย ยกตัวอย่างเช่น การสำรวจของฟริดส์มาและคณะ 5 ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับงานสำรวจของนีลแต่เป็นการสำรวจในย่านซิลิกอนวัลเลย์ที่เป็นแหล่ง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ใหญ่ของสหรัฐฯ นั้น พบว่าอัตราการใช้อีเมล์มากกว่าครึ่งของประชากรและเป็นการใช้อินเทอร์เน็ต จากสถานที่ทำงาน และครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีรหัสอีเมล์เหล่านี้ได้ใช้อีเมล์ติดต่อกับแพทย์ ของตนเป็นประจำอยู่แล้ว ในขณะที่อีกครึ่งบอกว่าถ้าแพทย์มีอีเมล์ให้ติดต่อได้ก็พร้อมจะใช้ทันที อย่างไรก็ดี ประชากรในแถบซิลิคอนวัลเลย์เหล่านี้ดูจะเป็นกังวลกับเรื่องความลับในเรื่อง ข้อมูลทางการแพทย์ของตนมากกว่าประชากรตัวอย่างในการศึกษาของนีลและคณะ เนื่องจากการใช้อีเมล์ในประชากรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน

เรียนรู้ธรรมชาติของอีเมล์

ก่อนที่ จะลงลึกไปในเรื่องข้อเสนอแนะต่างๆ นานาเกี่ยวกับรับส่งอีเมล์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย เราน่าจะมาทำความรู้จักทำความเข้าใจกับลักษณะพื้นฐานตามธรรมชาติของการสื่อ สารผ่านอีเมล์กันสักหน่อย อีเมล์นั้นเป็นการสื่อสารที่ก้ำกึ่งระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน มันเป็นการโต้ตอบที่เกิดขึ้นได้เร็ว และฉับพลันกว่าการเขียนจดหมายกระดาษโต้ตอบกัน แต่ก็ไม่ฉับพลันเท่ากับการพูดคุยกันทางโทรศัพท์ เนื่องจากมีช่วงคั่นเวลาเพียงพอที่ผู้สื่อสารจะตริตรองย้อนคิดได้สักรอบสอง รอบก่อนจะปล่อยคำพูดออกไป อีเมล์เป็นลายลักษณ์อักษรที่ใช้อ้างอิงระหว่างคู่เจรจาได้ ไม่เหมือนการพูดคุยโทรศัพท์ที่คุยเสร็จแล้วก็แล้วกันไป เหลือเพียงความทรงจำในเนื้อสมองของคู่เจรจา (ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกว่าไม่ได้พูดก็ไม่มีอะไรให้อ้างอิงได้) แต่ความที่อีเมล์เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ทำให้มันง่ายต่อการดัดแปลงแก้ไข โดยไม่ให้เหลือร่องรอย และทำให้มันไม่ได้รับการยอมรับในฐานะของหลักฐานทางกฏหมาย
หรือหากมอง ในแง่ของความทันอกทันใจ อีเมล์คงจะสู้โทรศัพท์ไม่ได้ เพราะการสื่อสารผ่านอีเมล์นั้นเป็นแบบผลัดกันส่ง (Asynchronous) ที่ต้องใช้เวลารอคู่เจรจาฝ่ายตรงข้าม ไม่เหมือนการใช้โทรศัพท์ที่สามารถส่งสารถึงกันได้ในเวลาที่แทบจะพร้อมกัน (Synchronous) แต่หลายคนก็ยังนิยมการใช้อีเมล์มากกว่าโทรศัพท์ เพราะเบื่อที่จะต้องรอพักสาย โอนสาย หรือทนฟังกับประโยคคำพูดซ้ำๆ ซากๆ ที่ถูกอัดใส่เทปคาสเซ็ทท์เวลาที่ต้องโทรศัพท์เข้าไปในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ๆ (telephone tag) ยิ่งกับการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยด้วยแล้ว อีเมล์ก็ยิ่งเหมาะสมกว่าการใช้โทรศัพท์ในกรณีที่แพทย์ต้องการให้ผู้ป่วยจด จำคำแนะนำได้อย่างแม่นยำว่า ทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ จะให้กินยาตัวไหนในเวลาไหนบ้าง ฯลฯ
เพราะคำแนะนำเหล่านี้เมื่อพูดด้วย ปาก ผู้ป่วยอาจจะหลงลืมไปได้ทันทีที่วางหูโทรศัพท์ และอีเมล์สามารถสื่อคำออกมาชัดเจนกว่า ในกรณีที่โทรศัพท์มีสัญญาณรบกวนจนผู้ฟังไม่สามารถจับใจความได้ว่าผู้พูด กำลังเอ่ยถึงอะไร (อย่างไรก็ดี ตรงนี้มีผู้แย้งว่าการใช้โทรศัพท์นั้นฟังไม่ชัดก็ยังพอถามซ้ำได้ แต่ในการอ่านอีเมล์ หากข้อความกำกวม ผู้ป่วยอาจจะไม่กล้าเมล์กลับมาถามแพทย์) ยิ่งไปกว่านั้น การโทรศัพท์ยังจำกัดให้ผู้รับต้องรออยู่ประจำใกล้ๆ เครื่องโทรศัพท์อีกด้วย เพราะถ้าไม่อยู่ ผู้โทรเข้าก็ต้องเผชิญกับภาวะการพักสาย โอนสายที่ไม่พึงประสงค์ติดตามมา และถ้าหากจะใช้วิธีฝากข้อความก็ยังต้องเสี่ยงกับการสูญหายของข้อความที่ฝาก ไว้อยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นเพราะการหลงลืมของผู้รับฝาก หรือการที่กระดาษโน้ตแจ้งให้โทรกลับหลงหายไปในกองเอกสาร
นอกจากการใช้ อีเมล์ที่ว่าไปแล้ว แพทย์ยังอาจใช้อีเมล์เป็นช่องทางในการติดต่อกับได้ในหลายๆ ลักษณะ เช่น ใช้ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ใช้เผยแพร่ความรู้ให้กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะการดำเนินโรคคล้ายๆ กัน อย่างกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มผู้ป่วยโรคตา หรือกลุ่มสตรีฝากครรภ์ ฯลฯ โดยสามารถพิมพ์อีเมล์ขึ้นเพียงฉบับเดียวแต่กระจายให้กับผู้รับทีเดียวได้ ทั้งกลุ่ม (โทรศัพท์ไม่เหมาะงานกระจายข่าวลักษณะนี้แน่) และเมื่อเห็นว่าบนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์อะไรที่เหมาะกับผู้ป่วยของตน แพทย์ก็อาจใช้อีเมล์เป็นตัวเชื่อมผู้ป่วยไปสู่เว็บไซต์ที่ต้องการได้ ที่สำคัญ เนื่องจากอีเมล์นั้นเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูล อิเลคทรอนิกส์อื่นๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์บริหารโรงพยาบาล (HIS: Hospital Information System) 6 อยู่แล้ว มันจึงเป็นเรื่องง่ายที่ทางโรงพยาบาลจะสำเนาข้อมูล (copy) จากอีเมล์ของผู้ป่วยแต่ละรายไปใช้กับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลเวชระเบียน ข้อมูลส่วนตัวของแพทย์เจ้าของไข้ ฯลฯ (สำหรับแพทย์อเมริกันนั้น สมาคมสารสนเทศการแพทย์ของสหรัฐฯ แนะนำให้พิมพ์ข้อความบนอีเมล์ออกมาเก็บเป็นหลักฐานไว้ด้วย เผื่อว่าอาจจะต้องนำกลับมาใช้ยันเป็นหลักฐานกับบริษัทประกัน)

แม้ว่า การใช้อีเมล์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์จะมีอยู่มากมายดังที่ได้ยกตัว อย่างมา แต่แพทย์ก็ควรตระหนักเสมอว่า อีเมล์นั้นเหมาะสำหรับเป็นช่องทางเสริมในการให้บริการแก่ผู้ป่วย ไม่ควรจะใช้เป็นช่องทางหลัก เพราะถึงอย่างไรการให้คำปรึกษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยก็ยังคงต้องเป็นการ สัมผัสพูดคุยกันแบบเห็นหน้าเห็นตา เป็นโอกาสที่แพทย์จะได้ซักประวัติผู้ป่วยกันให้ละเอียด ได้สังเกตสังกา/ตรวจเช็คอาการ (signs) และอาการแสดง (Sumptoms) กันได้ชัดๆ ได้คลำดูเคาะฟังตามหลักของการร่างกาย ได้ทดสอบสภาพการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ในยามที่มีข้อสงสัย และได้มีโอกาสเจาะเลือดเก็บสารน้ำและสิ่งส่งตรวจต่างๆ ไปวิเคราะห์ ฯลฯ ส่วนการสื่อสารอย่างอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยทางโทรศัพท์ หรือการสื่อสารผ่านอีเมล์นั้นควรจะใช้เสริมเฉพาะจุดที่เห็นว่าเหมาะสมเท่า นั้น และทุกครั้งที่มีการสื่อสารผ่านโทรศัพท์หรืออีเมล์ แพทย์ควรจะหาทางนัดหมายผู้ป่วยมาพบกันจริงหลังจากนั้นเสมอ เพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปบ้างหรือไม่

ข้อเสนอแนะทั่วไปสำหรับการใช้อีเมล์
สำหรับแพทย์หรือโรงพยาบาลใดที่ประสงค์จะนำเอาอีเมล์มาใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับผู้ป่วยของตนนั้น มีข้อคิดที่น่าสนใจดังน

1.ควรกำหนดระยะเวลาโดยประมาณของการตอบอีเมล์

2.ควร แจ้งให้ผู้ป่วยได้ทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับประเด็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ที่สื่อสารผ่านอีเมล์ เช่น ผู้ป่วยควรจะต้องรับรู้ว่า เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลหรือประจำคลีนิคคนใดมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับ บรรดาอีเมล์ที่ถูกส่งเข้ามา ? หมายกำหนดเวลาทำงานของเจ้าที่รับ/ส่งอีเมล์อยู่ในช่วงระหว่างเวลากี่นาฬิกา ? และถ้าหากเจ้าหน้าที่รายดังกล่าวลาพัก จะมีใครมาปฏิบัติหน้าที่แทนหรือไม่ ? ที่สำคัญ บรรดาข้อความที่ผู้ป่วยส่งเข้ามาทางอีเมล์จะถูกผนวกไว้เสมือนเป็นส่วนหนึ่ง ของเวชระเบียนหรือไม่ ?

3.กำหนดจำแนกประเภทของการถ่ายโอนข้อมูล ไว้ให้ชัดเจน อย่างเรี่องข้อมูลใบสั่งยานั้นก็ควรระบุลักษณะการถ่ายโอนไว้ให้ชัดเจนว่า ข้อมูลจะต้องถูกโอนไปที่ไหนบ้างระหว่างห้องตรวจ ห้องยา และเวชระเบียน ฯลฯ รวมทั้งควรกำหนดรูปแบบหน้าจอสำหรับป้อนข้อมูลเหล่านี้ (form refill) ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันด้วย นอกจากนั้น ยังควรกำหนดระดับความสำคัญของข้อมูลไว้ด้วยเพื่อกันไม่ให้ผู้ไม่มีสิทธิมา เปิดดู (เช่น ข้อมูลผลตรวจโรคเอดส์ หรือผลทดสอบทางจิตของผู้ป่วย)

4.แนะ นำให้ผู้ป่วยระบุชื่ออีเมล์ด้วยข้อความที่ระบุถึงเนื้อภายในอีเมล์ไว้อย่าง ชัดเจน จะได้ง่ายสำหรับกลั่นกรองและแจกแจงประเภทของอีเมล์ เช่น อาจกำหนดประเภทหัวข้อหลักไว้ว่าเป็นเรื่อง "ใบสั่งยา" "กำหนดนัดหมาย" "คำแนะนำทางการแพทย์" "คำถามเกี่ยวกับใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล" ฯลฯ

5.ขอให้ผู้ป่วยระบุชื่อ และเลขประจำตัวผู้ป่วย (H.N. number) ไว้ภายในอีเมล์ทุกครั้ง

6.กำหนด ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของแพทย์ส่งข้อความกลับไปยังผู้ป่วยอย่างอัตโนมัติ ทันทีที่ได้รับอีเมล์ (Reciept acknowledge) เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสบายใจว่าอีเมล์ของตนนั้นได้ถึงมือแพทย์แล้วจริงๆ และถ้าเป็นไปได้ก็อาจจะบอกไปด้วยว่าจะตอบกลับไปภายในกี่วัน นอกจากนั้น ยังควรบอกให้ทางฝ่ายผู้ป่วยกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์แจ้งเรื่องการได้รับ อีเมล์อย่างอัตโนมัติไว้ด้วยเช่นกัน (พิมพ์ข้อความในอีเมล์ที่ได้รับจากผู้ป่วยพร้อมคำตอบออกมาเป็นเอกสารเพื่อ เก็บแนบไว้เป็นหลักฐานในแฟ้มประวัติผู้ป่วยเสมอ)

7.ควรแจ้งให้ ผู้ป่วยทราบถึงทางเลือกในการสื่อสารผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ในท้ายอีเมล์ (Footer) อาจจะกำหนดเป็นแบบฟอร์มที่มีข้อความเป็นมาตรฐานไว้เลยว่า "หากมีข้อสงสัยอื่นใด ท่านอาจจะติดต่อมายังนายแพทย์ ..... ได้ที่เลขหมายโทรศัพท์ .... เลขหมายโทรสาร .... หรือทางไปรษณีย์จ่าหน้าซอง ... และถ้าหากไม่สามารถติดต่อนายแพทย์ ... ได้จริงๆ ก็อาจจะติดต่อไปยัง คุณ .... ที่ ...

8.ควรมีการระบุไว้ในส่วนหัวของอีเมล์ (Header) ในทำนองว่า "ข้อความภายในอีเมล์นี้คือความลับทางการแพทย์ของผู้ป่วย ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นรับทราบ"

9.การย้ายลิสต์รายชื่อผู้ป่วยพร้อม รหัสอีเมล์มาเก็บไว้บบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของแพทย์ อาจจะทำให้การบริหารอีเมล์เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว เพราะสามารถส่งก๊อปปี้อีเมล์ไปยังผู้ป่วยทีละมากๆ ได้ แต่ควรตระหนักในเรื่องความลับของผู้ป่วยอยู่เสมอ ฉะนั้น เวลาที่ต้องส่งอีเมล์ให้กับผู้ป่วยครั้งละหลายๆ คน ควรจะเรียกใช้โปรแกรม blind copy เพื่อป้องกันมิให้ผู้ป่วยแต่ละรายทราบว่าอีเมล์ฉบับเดียวกันนั้นถูกส่งไป ยังผู้ป่วยรายอื่นๆ

10.การใช้ภาษาในอีเมล์นั้นต้องมีความระมัด ระวังเป็นพิเศษ ควรหลีกเลี่ยงคำพูดที่มีความนัยไปในเชิงดูถูกกล่าวร้าย เยาะเย้ย ถากถาง หรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รวมทั้งจะต้องหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงบุคคลที่สามในทางเสียๆ หายๆ อีกด้วย

ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาล

สำหรับ โรงพยาบาลที่ได้ประยุกต์เอาระบบให้คำปรึกษาผ่านอีเมล์มาใช้นั้น แม้ว่าจะมีผลดีในแง่ของความสะดวก รวดเร็ว และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของงานบริการ แต่มันก็สร้างภาระผูกพันติดตามมา ทั้งในแง่ความรับผิดชอบตามกฏหมาย และภาระในงานบริหาร ทาง สมาคมสารสนเทศการแพทย์ของสหรัฐฯ จึงได้เสนอข้อแนะนำคร่าวๆ ไว้ดังนี้

1.ต้อง สร้างจิตสำนึกร่วมในแง่พันธะกรณีที่มีต่อผู้ป่วยเมื่อใช้อีเมล์ โดยระบุออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน เช่น - ต้องระบุความหมายของบรรดาศัพท์แสงทางเทคนิค (Terms) ที่ถูกนำมาใช้ไว้อย่างชัดเจน - ระบุสภาพเงื่อนไขที่อีเมล์จะถูกนนำมาใใช้ไว้อย่างชัดเจน พร้อมระบุด้วยว่าเมื่อไรจึงควรจะเปลี่ยนไปใช้การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ หรือการนัดพบแพทย์โดยตรง - ระบุให้ทราบถึงกลไกต่างๆ ที่ทางโรงพยาบาลมีไว้สสำหรับการรักษาความลับให้กับข้อมูลของผู้ป่วย - ระบุถึงขอบเขตความรับผิดชอบ และประกันที่ทางโรงพยาบาลมีให้กับผู้ป่วย ในกรณีที่เกิดความเสียหายในทางเทคนิคขึ้นกับข้อมูลของผู้ป่วย - แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องเข้ารหัสของข้อมูล (Encryption) ที่ต้องการให้เป็นความลับ แต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้ยกเลิกการเข้ารหัสระหว่างการติดต่อได้ด้วย หากเป็นความประสงค์ของตัวผู้ป่วยเอง

2.กำหนดเป็นข้อปฏิบัติ สำหรับบุคคลากรภายในโรงพยาบาล ว่าควรใช้โปรแกรมยืดอายุหน้าจอมอนิเตอร์ (Screen saver) มาช่วยปกป้องข้อมูลลผู้ป่วยจากสายตาสอดรู้สอดเห็นของผู้ไม่เกี่ยวข้อง หรือผู้ไม่มีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลเหล่านั้น

3.กำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติว่าจะไม่มีการโอนย้ายข้อมูลผู้ป่วยไปยังบุคคลที่สาม โดยไม่ได้รับการยินนยอมจากตัวผู้ป่วยเอง

4.ต้องไม่นำชื่อ และรหัสอีเมล์ของผู้ป่วยไปแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า เช่น ไม่นำไปเผยแพร่ต่อบริษัทโฆษณา บริษัทประกัน บริษัทบัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งบริษัทนายจ้างที่ผู้ป่วยทำงานอยู่ด้วย

5.แจ้งให้ บุคคลากรทุกคนในโรงพยาบาลทราบว่าจะต้องไม่นำรหัสอีเมล์ที่ทางโรงพยาบาล อนุมัติให้บุคคลากรแต่ละคนไปใช้เพื่อการอื่น และไม่นำไปให้บุคคลมาใช้ร่วมด้วย (เช่น จะเอารหัสอีเมล์ไปให้ลูกเมียที่บ้านใช้ร่วมด้วยไม่ได้)

6.ควรนำเอาระบบการใส่รหัส (encryption) และระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่เหมาะสมทุกอย่างที่หาได้มาใช้ โดยมีเงื่อนไขว่าระบบรักษาความปลอดภัยดังกล่าวนั้น ควรจะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ใช้งานได้ง่ายสำหรับบุคคลทั่วไป และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติในงานที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากอย่างในโรง พยาบาลได้จริง

7.ทุกครั้งที่มีการสื่อสารไร้สายซึ่งยากต่อการ รักษาความปลอดภัยของข้อมูลลควรหลีกเลี่ยงการรับ/ส่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิง ถึงผู้ป่วยรายใดรายหนึ่งได้ (หากระบบสื่อสารไร้สายนั้นมีมาตรการรักษาความปลลอดภัยที่เชื่อถือได้ก็คง งพออนุโลมให้ใช้ได้)

8.ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติต้องทำการตรวจทานชื่อผู้รับอีเมล์ที่ปรากฏอยู่ในช่อง To:- ... ก่อนส่งเสมอ (Double check)

9.กำหนดให้มีการสำรองข้อมูลอีเมล์ (Bcakup) ทุกๆ สัปดาห์ โดยกำหนดให้การจัดเก็บข้อมูลอีเมล์มีทั้งระยะสั้นและระยะยาว

10.แถลงนโยบายเรื่องอีเมล์ของโรงพยาบาลออกมาให้ชัดเจน ทั้งในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์
ข้อตกลง แพทย์-ผู้ป่วย
เนื่อง จากเนื้อหาภายในอีเมล์นั้นจะเกี่ยวข้องกับบบุคคลสองฝ่าย คือ แพทย์และผู้ป่วย ฉะนั้น ทั้งสองฝ่ายควรจะหาข้อตกลงร่วมกันออกมา เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจติดตามมา (จะได้ไม่ต้องมานั่งตีความกันในภายหลัง)

ตัวอย่างของข้อตกลงหลักๆ ที่ควรจะมีระหว่างแพทย์ และผู้ป่วยนั้น ได้แก่

1. กำหนดเวลาการรับ/ตอบอีเมล์ : กำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่าแต่ละฝ่ายควรจะเรียกดูอีเมล์ถี่บ่อยขนาดไหน โดยระบุช่วงเวลาไว้ด้วยหากผู้ป่วยส่งอีเมล์มายังแพทย์แล้วจะได้รับคำตอบภาย ในกี่วัน ซึ่งตามมาตรฐานปรกติทางธุรกิจนั้น ข้อความที่รับบฝากไว้ทางโทรศัพท์จะถูกโทรกลับไปยังผู้ฝากข้อ คววามภายในหนึ่งวัน แต่หากฝากข้อความไว้ทางอีเมล์จะได้รับการตอบกลับภายใน 3 - 4 วันทำการ อย่างไรก็ตาม กติกานี้อาจจะนำมาใช้กับอีเมล์ทางการแพทย์ไม่ได้ เพราะวิธีการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยนั้นมักจะหลีกเลี่ยงการโทรศัพท์ ติดต่อถึงกันโดยตรง ฉะนั้น ผู้ดูแลอีเมล์ในโรงพยาบาลอาจจะต้องตรวจอีเมล์ที่เข้ามาถึงแพทย์ให้ถี่ขึ้น ขนาดวันละหลายๆ ครั้ง แต่อาจจะยังคงเว้นช่วงการตอบกลับไว้บ้าง เช่น อาจจะให้เวลาสัก 1- 2 วัน

2. กำหนดระดับความเป็นส่วนตัว : กำหนดให้ชัดว่าจะมีใครเข้ามาช่วยดูแล และจัดการเกี่ยวกับเรื่องอีเมล์ให้กับแพทย์บ้าง และถ้าหากแพทย์เจ้าของไข้ต้องนำเอาข้อมูลผู้ป่วยไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอื่น ก็จะต้องมีขอบเขตไว้ด้วยว่าเรื่องไหนเปิดเผยได้ เรื่องไหนห้ามเปิดเผยเด็ดขาด

3. กำหนดลักษณะของข้อมูลภายในอีเมล์ที่อนุญาตให้นำไปใช้เพื่อการอื่นได้ : เนื่องจากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์นั้น มักจะได้อาศัยบรรดาข้อมูลจากผู้ป่วยนี่แหล่ะไปใช้ ทำให้บางครั้งอาจจะต้องโอนย้ายข้อมูลบางส่วนไปใช้เป็นกรณีๆ นอกจากนั้น ในโรงพยาบาลที่มีการจัดตั้งระบบบริหารโรงพยาบาลด้วยคอมพิวเตอร์ไว้อย่าง สมบูรณ์ การโอนย้ายข้อมูลผู้ป่วยจากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่ง ยังอาจถือเป็นประโยชน์กับตัวผู้ป่วยเอง เพราะจะทำให้ข้อมูลผู้ป่วยมีความถูกต้องทันสมัยอยู่ตลอดเวลา (เช่น การโอนข้อมูลจากใบสั่งยาจากอีเมล์ไปที่ฐานข้อมูลลเวชระเบียน ไปห้องยา และไปหอผู้ป่วย หรือ การโอนข้อมูลคำแนะนำของแพทย์จากอีเมล์ไปที่เวชระเบียน และแผนกผู้ป่วยพิเศษ ฯลฯ) อย่างไรก็ตาม ต้องระบุห้ามโอนย้ายข้อมูลบางอย่างไว้อย่างเด็ดขาด ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลลผลตรวจโรคเอดส์ หรือผลตรวจวิเคราะห์ทางงจิต ฯลฯ

4. กำหนดประเภทของหัวเรื่องอีเมล์ : ซึ่งจะทำให้ง่ายสำหรับผู้ดูแลรับผิดชอบในการจัดจำแนกประเภท (Subject categories) ของอีเมล์ที่ถูกส่งเข้ามายังโรงพยาบาล อย่างน้อยก็แยกได้ว่าเรื่องงไหนด่วนขนาดคอขาดบาดตาย เรื่องไหนไม่เร่งร้อน หรือถ้าเป็นระบบอีเมล์รวมศูนย์ ก็จะได้ใช้แยกส่งอีเมล์ไปยังผู้เชี่ยวชาญแต่ละรายไป (บางคนอาจจะติดนิสัยการเขียนจดหมายธรรมดาที่เรียกขานกันด้วยชื่อเล่น จึงควรกำหนดให้ผู้ใช้อีเมล์ต้องระบุชื่อจริงไว้สักหนึ่งชื่อภายในอีเมล์)

5. กำหนดมาตรการจ่าหัวเรื่อง : เนื่องจากข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยนั้นถือเป็นความลับที่ต้องรักษาไว้ตาม จรรยาบรรณ แพทย์และผู้ป่วยจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการจ่าหัวเรื่องด้วยว่า จะต้องงใช้คำพูดที่เป็นกลางไม่เปิดเผยความลับที่ไม่สมควร เช่น หัวอีเมล์ประเภทที่ระบุ "เรื่องผลการตรวจเลือดเอดส์ของคุณ" นั้นถือเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเด็ดขาด

ทั้ง 5 ข้อตกลงนี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่น่าสนใจเท่านั้น บางโรงพยาบาลอาจจะมีมากกว่าหรือน้อยกว่า 5 ข้อนี้ แต่ไม่ว่าจะมีข้อตกลงมากน้อยเพียงไร ทางงสมาคม AMIA ก็แนะนำว่าควรจะพิมพ์ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วให้ทั้งฝ่ายลงนามรับทราบไว้ในฐานะของพันธะกรณีที่มีระหว่างกัน
ความเป็นไปได้ของอีเมล์การแพทย์ในไทย
สำหรับ ในเมืองไทยนั้น ผู้เขียนเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการนำเอาระบบบให้คำปรึกษาทางการ แพทย์ผ่านอีเมล์เช่นนี้มาใช้ เนื่องจากลักษณะสังคมไทยที่ดูเหมือนจะยอมรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กันได้โดยง่าย และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะนำเอาข้อเสนอแนะที่สมาคมสารสนเทศ การแพทย์มีให้กับบรรดาแพทย์อเมริกันมาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้ เผื่อว่ามีท่านผู้อ่านท่านใดที่เป็นแพทย์และคิดจะนำเอาระบบดังกล่าวไปใช้ คลีนิค จะได้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และเลือกกำหนดรูปแบบของการสื่อสารไว้แต่เนิ่นๆ
อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกๆ นั้น

ระบบ การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านอีเมล์ในประเทศไทยน่าจะถูกจำกัดอยู่เฉพาะ กลุ่มคนที่มีการศึกษาและมีฐานะดี เพราะปริมาณผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในบ้านเรายังมีอยู่ไม่มากนัก แถมส่วนใหญ่ก็ยังผ่านเครือขายของสถานศึกษาอีกด้วย ฉะนั้น รูปแบบของการให้คำปรึกษาก็ย่อมจะพลอยถูกจำกัดไปตามประเภทของผู้คนที่ใช้งาน อินเตอร์เน็ตไปด้วย นั่นคือ น่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพที่อยู่ในความสนใจของหนุ่มสาววัยอุดมศึกษา หรือวัยทำงาน ตัวอย่างของปัญหาสุขภาพที่ผู้คนในวัยนี้สนใจมักจะเป็นเรื่อง ความสวยความงาม การรักษาหน้าตาผิวพรรณ การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาข้อคับข้องใจในเรื่องเพศศึกษา ฯลฯ โดยคุณ : สุรพล ศรีบุญทรง -

การหย่าร้างสร้างผลกระทบต่อเด็กนานถึง 25 ปี

Reuters - บาดแผลแห่งความเจ็บปวดจากการหย่าร้างกันระหว่างพ่อแม่กระทบต่อชีวิตของเด็ก อย่างมากมาย เพราะหลังจากที่พ่อแม่ของพวกแขาแยกกันอยู่ เด็กพวกนี้จะพยามยามประคับประคองชีวิตของพวกเขา เพื่อค้นหาความสัมพันธ์จากครอบครัวที่สมบรูณ์แบบด้วยตัวของตัวเอง

"พวกเราพบว่ามายาภาพที่เกิดจากการหย่าร้างเป็นเพียงวิกฤติชั่วคราวที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
ใน ตอนนั้น แต่ผลของความเจ็บปวดครั้งใหญ่มันจะเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเมื่อพวกเขาต้องเล่นบทเป็นพ่อหรือแม่บ้าง ภาพความสัมพันธ์แบบนั้น ในวัยเด็กมันก็จะย้อนกลับมากระทบต่อบทบาทในครั้งนี้"

จาก ผลการศึกษาของ อาจารย์จูดิธ วอลเลอร์สไตล์ อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบอร์คเลย์ ที่เปิดเผยถึงผลการวิจัย เกี่ยวกับเด็กที่มาจากครอบครัวแตกแยก ผ่านหนังสือชื่อ "มรดกที่ไม่คาดฝันจากการหย่าร้าง : การศึกษากลุ่มเป้าหมายในเวลา 25 ปี" วอลเลอร์สไตน์ เข้าไปจับเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 1971 โดยเก็บข้อมูลจากเด็กชายที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่ง ซานฟรานซิสโก จำนวน 100 คน และนับได้ว่าเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ศึกษาผลกระทบของการหย่าร้างตั้งแต่ยัง เป็นเด็กต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่

การ วิจัยได้ศึกษาข้อมูล โดยเปรียบเทียบระหว่างเด็กครอบครัวแตกแยกและเด็กที่มาจากครอบครัวที่สมบรูณ์ แล้วสรุปได้ว่าการหย่าร้างของพ่อแม่ยังคงเป็นผลกระทบที่ยาวนานต่อสภาวะ อารมณ์ในการดำรงชีวิตของเด็ก ๆ ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่

เด็ก ๆ ที่ผ่านประสบการณ์การหย่าร้างจะดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกที่เต็มไปด้วย อันตราย เพราะความกลัวที่จะฝ่าฟัน เพื่อให้ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาจจะส่งผลให้เกิดการใช้ยา หรือดื่มแอลกอฮอล์จนเกิดขนาด เด็กกลุ่มนี้มีความรู้สึกว่า มันยากเย็นมากหากพวกเขาพยายามจะมีชีวิตอยู่อย่างคนปกติ และในความพยายามนี้ ทำให้พวกเขากลายเป็นเด็กที่มักจะทำผิดเสมอ ในสายตาผู้อื่น เพราะหลังจากพ่อแม่แยกกันอยู่� เด็กจะรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการปกป้องน้อยลง ส่วนทางด้านร่างกายก็มีปัญหาการขาดสารอาหาร
ที่สำคัญในจำนวนเด็กเหล่า นี้ น้อยนักที่คิดจะแต่งงาน หรือแต่งงานแล้วก็ไม่อยากจะมีลูก และแนวโน้มของการหย่าร้างมีมากกว่าคู่แต่งงานที่ต่างมาจากครอบครัวสมบรูณ์

ผล การศึกษายังเปิดเผยอีกว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เด็กครอบครัวสมบรูณ์แต่งงาน 80% ส่วนเด็กครอบครัวแตกแยก แต่งงาน 60% โดย 38% ของกลุ่มหลังมีลูก และอีก 17% ทำตัวออกห่างจากชีวิตสมรส แตกต่างจากเด็กครอบครัวสมบรูณ์ที่มีลูกตามปกติ และยังคงใช้ชีวิตอยู่ในบริบทของการสมรส

เด็ก ที่พ่อแม่หย่าร้างส่วนมากจะแต่งงานก่อนอายุ 25 ปี ขณะที่เด็กครอบครัวสมบรูณ์ทำอย่างนั้นเพียง 11% นอกจากนี้ การหย่าร้างยังเป็นผลกระทบต่อชีวิตในด้านอื่น ๆ เพราะมีเด็กเพียง 29% หลังจากที่พ่อแม่แยกทางกัน แต่ได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินจากพ่อ ในการจ่ายค่าเทอมให้ได้เรียนในระดับที่สูงขึ้นไป เมื่อเปรียบเทียบกับ เด็กที่มาจากครอบครัวสมบรูณ์แล้วพบว่ามี 88% ที่พ่อแม่ส่งเสียให้เรียนในระดับสูง

นอก จากนี้ ผลการวิจัยยังรายถึงสถิติการใช้ยาเสพติดและดื่มแอลกอฮอล์ว่า เด็กที่พ่อแม่แยกทางกัน 25% จะใช้สิ่งเหล่านี้ก่อนอายุ 14 ปี ขณะที่จำนวนเด็กครอบครัวอบอุ่น ใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ก่ออายุ 14 ปี มีเพียง 9%

วอลเลอร์สไตล์ กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้สร้างความกระจ่างชัดว่า เด็กหากได้อยู่ในสภาวการณ์การหย่าร้าง นับเป็นการทำลายประสบการณ์ ชีวิตของพวกเขา แต่เธอก็ได้ก็ไม่ได้ฟันธง สรุปลงไปในงานวิจัยว่า คู่สมรสควรจะอยู่ด้วยกันเพื่อเด็ก แต่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามที่ชีวิตสมรสควรจะเป็น

อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้เสนอว่า หากเกิดกรณีที่รุนแรง การหย่าร้างที่รุนแรง พ่อแม่สามารถทำให้สภาพจิตใจเด็กดีขึ้น
โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังคงคอยดูแลลูก และทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี แต่ก็หลาย ๆ กรณีอาจจะทำอย่างนั้นไม่ได้ แต่ให้พ่อแม่จำเอาไว้ว่า "ชีวิตมันจะยากเย็นมากขึ้นสำหรับเด็ก เพราะพ่อแม่ทำให้มันยากมากขึ้น