++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

นิพพานเกิดขึ้นกับคนธรรมดาที่ไม่ใช่พระ ได้หรือไม่ ? (ปุจฉา)



เข้าใจบัญญัติสมมุติ
คนธรรมดา หรือฆราวาส
พระ หรือบรรพชิต
ล้วนเป็นภาวะบัญญัติสมมุติของรูปนาม ,

นิพพาน อยู่เหนือสมมุติของรูปและนาม

เมื่อใดที่ยังมีผู้ที่เจริญมรรค มีองค์ ๘ (The Noble Eightfold Path)หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้บริบูรณ์พร้อม
นิพพานก็จะสามารถเกิดขึ้นกับมนุษย์ผู้นั้นได้

--
Photo: วัดพระแก้ว กทม. , Wat Pra Keaw, Bangkok, Thailand.
Credit Photo.Lek Raththaphon

#___________________#

ทางอันประเสริฐมรรคมีองค์ ๘ ? The Noble Eightfold Path

ทางอันประเสริฐมรรคมีองค์ ๘
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นอย่างไร
ทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปด ทางเดียวนี้แล ทางนี้เป็นอย่างไร
คือปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ

๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นอย่างไร
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์อันใดแล
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ

๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
.… คือความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ

๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
.… คือการงดเว้นจากการกล่าวคำเท็จ งดเว้นจากกล่าววาจาส่อเสียด งดเว้นจากการกล่าววาจาหยาบคาย งดเว้นจากการกล่าววาจาเพ้อเจ้อ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวาจา

๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
.… การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสียแล้ว ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ

๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจ(ฉันทะ)ให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคอง ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น
.… ย่อมยังความพอใจ(ฉันทะ)ให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคอง ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
.… ย่อมยังความพอใจ(ฉันทะ)ให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคอง ตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่บังเกิดให้เกิดขึ้น
.… ย่อมยังความพอใจ(ฉันทะ)ให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคอง ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ให้สาปสูญ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวายามะ

๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ เป็นอย่างไร
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
.… เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูกายในกายอยู่ กำจัดความพอใจ และไม่พอใจในโลกออกเสียได้
.… เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาอยู่ กำจัดความพอใจและไม่พอใจในโลกออกเสียได้
.… เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่ กำจัดความพอใจและไม่พอใจในโลกออกเสียได้
.… เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่ กำจัดความพอใจและไม่พอใจในโลกออกเสียได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสติ

๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งจิตมั่นชอบ
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
.… ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
.… บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจาร สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
.… เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
.… เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ

ที่มา : มหาสติปัฏฐานสูตรhttp://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?f=3&t=12
~

The Noble Eightfold Path
The Noble Truth of the Path of Practice Leading to the Cessation of [Suffering]

“And what is the noble truth of the path of practice leading to the cessation of [suffering]? Just this very noble eightfold path: right view, right resolve, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, right concentration.

“And what is right view? Knowledge with regard to [suffering], knowledge with regard to the origination of [suffering], knowledge with regard to the cessation of [suffering], knowledge with regard to the way of practice leading to the cessation of [suffering]: this is called right view.

“And what is right resolve? Aspiring to renunciation, to freedom from ill will, to harmlessness: this is called right resolve.

“And what is right speech? Abstaining from lying, from divisive speech, from abusive speech, and from idle chatter: this is called right speech.

“And what is right action? Abstaining from taking life, from stealing, and from illicit sex: this is called right action.

“And what is right livelihood? There is the case where a disciple of the noble ones, having abandoned dishonest livelihood, keeps his life going with right livelihood: this is called right livelihood.

“And what is right effort? There is the case where a monk generates desire, endeavors, arouses persistence, upholds and exerts his intent for the sake of the non-arising of evil, unskillful qualities that have not yet arisen... for the sake of the abandoning of evil, unskillful qualities that have arisen... for the sake of the arising of skillful qualities that have not yet arisen... (and) for the maintenance, non-confusion, increase, plenitude, development, and culmination of skillful qualities that have arisen: this is called right effort.

“And what is right mindfulness? There is the case where a monk remains focused on the body in and of itself — ardent, alert and mindful — putting aside greed and distress with reference to the world. He remains focused on feelings in and of themselves...the mind in and of itself... mental qualities in and of themselves — ardent, alert and mindful — putting aside greed and distress with reference to the world. This is called right mindfulness.

“And what is right concentration? There is the case where a monk — quite withdrawn from sensuality, withdrawn from unskillful [mental] qualities — enters and remains in the first jh?na: rapture and pleasure born from withdrawal, accompanied by directed thought and evaluation. With the stilling of directed thought and evaluation, he enters and remains in the second jh?na: rapture and pleasure born of composure, unification of awareness free from directed thought and evaluation — internal assurance.
With the fading of rapture, he remains equanimous, mindful and alert, and senses pleasure with the body. He enters and remains in the third jh?na, of which the noble ones declare, ‘Equanimous and mindful, he has a pleasant abiding.’ With the abandoning of pleasure and pain — as with the earlier disappearance of elation and distress — he enters and remains in the fourth jh?na: purity of equanimity and mindfulness, neither
pleasure nor pain. This is called right concentration.

“This is called the noble truth of the path of practice leading to the cessation of [suffering].

Source(.PDF File) : Vimuttidhamma , Chapter III - link http://vimuttidhamma.org/Vimuttidhamma%20From%20Chakra%20to%20Dhammachakra%20by%20Piyadhassi%20Bhikkhu.pdf

----
Ref: http://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?f=13&t=264

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น