++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ใครเป็นมั่ง_เรอบ่อย ท้องอืด กินอะไรมานะ

ใครเป็นมั่ง_เรอบ่อย ท้องอืด กินอะไรมานะ

@อาหารหลักที่สร้างแก๊ส คือ อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้ำตาล) โดยเฉพาะประ เภทมีใยอาหารสูง ส่วนโปรตีน และไขมันสร้างแก๊สได้บ้างแต่ไม่มากเท่าคาร์โบไฮเดรต อย่างไรก็ตาม อาหารไขมันเป็นอาหารที่ย่อยยาก มักค้างอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน ถ้ากินในปริมาณมากจึงมักก่ออาการท้องอืด/แน่นท้องได้
1น้ำตาล ชนิดที่ก่อแก๊สได้มาก เช่น

-น้ำตาล ราฟฟิโนส (Raffinose) พบมากในถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งถั่วกินทั้งฝัก ผักกะหล่ำ บรอคโคลิ หน่อไม้ฝรั่ง และธัญพืชเต็มเมล็ด

-น้ำตาลแลคโตส (Lactose) เป็นน้ำตาลในนม ดังนั้นในบางคนเมื่อดื่มนม จึงเกิดอาการท้องอืด แน่น เนื่องจากขาด หรือมีน้ำย่อยน้ำตาลชนิดนี้น้อย (ภาวะขาดหรือพร่องเอน ไซม์แลคเตส) ซึ่งมักพบในคนชาติเอเชีย

-น้ำตาลฟลุคโตส (Fluctose) ซึ่งมีมากในผลไม้ หัวหอม ลูกแพร์ และข้าวสาลี นอกจากนั้น เรายังใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้กระป๋อง/กล่อง หรือในเครื่องดื่มต่างๆ

-น้ำตาลซอร์บิโทล (Sorbitol) ซึ่งใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหาร และขนมต่างๆ เช่น หมากฝรั่ง ลูกอม และผลไม้ ที่พบในปริมาณมาก คือ แอปเปิล ลูกพีช ลูกแพร์ และลูกพรุน

2 แป้ง ชนิดก่อแก๊สได้มาก เช่น แป้งจาก มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวสาลี ยกเว้นข้าว ซึ่งให้แป้งที่ก่อแก๊สได้น้อยมาก

3 ใยอาหาร (Dietary fiber) คือ อาหารที่ได้จากพืช และร่างกายไม่สามารถย่อยสลายและดูดซึมได้ จึงผ่านจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ โดยส่วนที่ละลายน้ำได้ของใยอาหาร แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะหมักและทำให้เกิดเป็นแก๊สขึ้น แต่ส่วนที่ละลายไม่ได้จะดูดซึมน้ำ และร่างกายจะขับออกเป็นอุจจาระ ซึ่งคุณสมบัตินี้ช่วยในการขับถ่าย และป้องกันอาการท้องผูก

4 อาหารที่มีใยอาหาร คือ ผัก และผลไม้ทุกชนิด แต่ที่มีใยอาหารสูง เช่น ถั่วต่างๆ ถั่วกินทั้งฝัก มันเทศ ธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวโอต หัวหอม กล้วย พรุน ผลเบอรรี (Berries) ผลนัท (Nut) ต่างๆ (โดยเฉพาะอัลมอนด์) แอบเปิล แพร์ อะโวคาโด และเปลือกผลไม้

@ อะไรเป็นสาเหตุให้มีแก๊สในท้องมาก?

สาเหตุที่ทำให้มีแก๊สในท้องมากที่พบบ่อย ได้แก่

1กินอาหารปริมาณมาก
2กิน ดื่ม อาหารประเภทผลิตแก๊สสูงดังกล่าวแล้ว
3กลืนอากาศมากกว่าปกติ เช่น สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง กิน/เคี้ยวเร็ว อมลูกอม/ทอฟฟี่ ใช้หลอดดูดน้ำ/อาหาร และใส่ฟันปลอมที่หลวมไม่พอดี
4ขาดน้ำย่อยอาหารบางชนิด เช่น ขาดน้ำย่อยนม
5อาหารไขมัน ถึงแม้ไม่ได้สร้างแก๊สมาก แต่เป็นอาหารที่ย่อยยาก จึงคั่งค้างนานในกระเพาะอาหาร-ลำไส้ จึงก่ออาการท้องอืด แน่นท้องได้
6 ท้องผูก
7เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น ช่วงก่อน หรือมีประจำเดือน
8โรคกรดไหลย้อน (ไหลกลับ)
9 โรคบางชนิดของกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน และโรคของเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร-ลำไส้ ส่งผลให้ขับแก๊สออกได้น้อย
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ลดการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร-ลำไส้ เช่น ยาแก้ปวดในกลุ่มยาเสพติด และในกลุ่มยาต้านการอักเสบเอ็นเสดส์ (NSAIDs) ส่งผลให้ขับแก๊สออกได้น้อย
10 ปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ เช่น ความเครียด ซึ่งส่งผลต่อการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร และการเคลื่อนไหว บีบตัวของลำไส้

บางคนปริมาณแก๊สในท้องปกติ แต่เป็นคนที่ไวต่อแก๊สมากกว่าคนทั่วไป จึงมีอา การเหมือนกับคนมีแก๊สในท้องมากได้

@ แก๊สในท้องมีอาการอย่างไร?

-อาการจากการมีแก๊สในท้องมาก ที่พบบ่อย คือ ท้องอืด/แน่นท้อง เรอ/ท้องเฟ้อ และผายลม มากกว่าปกติ
ท้องอืด/แน่นท้อง คืออาการที่มีท้องป่อง มักเกิดหลังการกิน/ดื่ม ส่งผลให้รู้สึกแน่นอึดอัด แต่อาจเกิดเมื่อไรก็ได้เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว เช่น สูบบุหรี่ หรือ เคี้ยวหมากฝรั่ง อาการร่วม คือบางคนอาจมีอาการปวดท้องได้แต่อาการปวดไม่มาก โดยตำแหน่งปวดท้องมักเคลื่อนที่ได้ตามการเคลื่อนที่ของแก๊ส และอาการมักดีขึ้นเมื่อ เรอ หรือ ผายลม อย่างไรก็ตาม บางคนปวดท้องได้มาก เช่น

-เมื่อปวดด้านซ้ายตอนบน อาจต้องแยกจากการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
-ถ้าปวดท้องในส่วนช่องท้องด้านขวาตอนบน อาจต้องแยกจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี
หรือถ้าปวดในส่วนช่องท้องล่างขวา หรือรอบสะดืออาจต้องแยกจากโรคไส้ติ่งอักเสบ
-เรอ/ท้องเฟ้อ คืออาการจากมีแก๊สมากในกระเพาะอาหาร และ/หรือหลอดอาหาร ร่างกายจึงกำจัดออกด้วยการเรอ ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการแสบร้อนกลางอก (โรคกรดไหลย้อน) อาการจุกเสียด แน่นท้อง และอาการต่างๆเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในอาการท้องอืด แน่นท้อง
-ผายลม ทั้งนี้ ทั้งปริมาณและกลิ่น ขึ้นกับประเภทอาหาร ปริมาณอาหาร และชนิดแบคทีเรียประจำถิ่นที่แตกต่างกันในแต่ละคน ซึ่งอาการผายลมมาก/บ่อยกว่าปกติ มักเกิดร่วมกับอา การท้องอืด/แน่นท้อง และเรอ/ท้องเฟ้อดังได้กล่าวแล้ว

@ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีแก๊สมาก ท้องอืด/แน่นท้อง เรอ/ท้องเฟ้อ และผายลมมากผิดปกติ ได้แก่

1ปรับพฤติกรรมการกิน/ดื่ม กินอาหารในแต่ละมื้อลดปริมาณลง และสังเกต/ปรับชนิดของประเภทอาหาร/เครื่องดื่ม
2จำกัดอาหารไขมัน
3หลังกินอาหารควรมีการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยการเคลื่อนไหวลำไส้ กำจัดแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร-ลำไส้
4ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น
5กินอาหาร ดื่มเครื่องดื่มช้าๆ
6เลิกบุหรี่ หมากฝรั่ง อมลูกอม
7ปรึกษาทันตแพทย์เรื่องฟันปลอม
8รักษาสุขภาพจิต
9ในเบื้องต้น ปรึกษาเภสัชกรร้านขายยา ซื้อยาบรรเทาอาการต่างๆ

พบแพทย์เมื่ออาการไม่ดีขึ้น หรือเมื่ออาการเลวลงหลังการดูแลตนเองประมาณ 2 สัปดาห์ หรือเมื่อกังวลในอาการ

@ ควรรีบพบแพทย์ฉุกเฉิน หรือภายใน 24 ชั่วโมงขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เมื่อ

1มีไข้ ปวดท้องรอบๆสะดือ หรือ ตำแหน่งด้านขวาตอนล่าง เพราะอาจเป็นอาการของโรคไส้ติ่งอักเสบ
เจ็บร้าวลงไหล่ แขน หรือขึ้นขากรรไกรซ้าย เหนื่อย เหงื่อออกผิดปกติ ใจสั่น จะเป็นลม เพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ

2มีไข้ และปวดท้องบริเวณด้านขวาตอนบน เพราะอาจเกิดจากถุงน้ำดีอักเสบจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี

@ ป้องกันภาวะมีแก๊สในท้องอย่างไร?

การป้องกันการมีแก๊สมากในท้องรวมทั้งป้องกันอาการ ท้องอืด/แน่นท้อง เรอ/ท้องเฟ้อ และผายลมมากกว่าปกติ เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในหัวข้อการดูแลตนเองและการพบแพทย์ (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อนั้น) ซึ่งที่สำคัญคือ

สังเกตความสัมพันธ์ระหว่าง ชนิด และปริมาณอาหารที่บริโภค ปรับอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง และปรับ/หลีกเลี่ยงอาหารชนิดที่ทำให้เกิดอาการ ซึ่งในแต่ละคนจะแตกต่างกันได้

ที่มา haamor.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น