++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ประเทศไทยพบผู้ป่วยอีโบล่า รายแรก

ประเทศไทยงานงอก?!?
พบแล้วรายแรก "ต้องสอบสวนโรคอีโบลา" สธ.เผยเป็นหญิงชาวกินี วัย 24 ปี เข้ามาตามหาสามีในไทยตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. ผ่านด่านควบคุมโรคโดยไม่มีไข้ แต่มามีไข้ภายหลัง นำตัวเข้าห้องแยกโรคแล้ว ส่งเลือดตรวจเชื้อกรมวิทย์ และจุฬาฯ คาดรู้ผล 2 ก.ย. พร้อมติดตามผู้สัมผัสอีก 16 คนอย่างใกล้ชิด

วันนี้ (2 ก.ย.) เมื่อเวลา 12.00 น. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวความก้าวหน้าระบบเฝ้าระวังอีโบลาในประเทศไทย ว่า จากมาตรการเฝ้าระวังโรคอีโบลาขณะนี้พบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค 1 ราย นับเป็นรายแรกของประเทศ โดยเป็นหญิงชาวกินี อายุ 24 ปี เดินทางมาจากประเทศกินีที่มีการระบาดเมื่อวันที่ 18 ส.ค. ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ส.ค. ผ่านด่านควบคุมโรคโดยไม่พบว่ามีไข้ แต่เริ่มมีอาการไข้เมื่อวันที่ 29 ส.ค. จึงไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด โดยพบว่า มีอาการไข้ 38.8 องศาเซลเซียส เจ็บคอ มีน้ำมูก และอาเจียน จึงรับตัวไว้ดูแลรักษาในห้องแยกโรคที่มีการควบคุมความดัน (Negative Pressue) ตามระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา พร้อมเจาะเลือดส่งตรวจหาเชื้ออีโบลาที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คาดว่าจะทราบผลเบื้องต้นในวันที่ 2 ก.ย. โดยจะวางแผนเจาะเลือดตรวจซ้ำครั้งที่ 2 ในวันที่ 4 ก.ย.เพื่อความมั่นใจ

"ขณะนี้หญิงรายดังกล่าวมีอาการไข้ลดลงแล้ว ส่วนการดูแลผู้ป่วยในห้องแยกโรคตามมาตรฐานนั้น เจ้าหน้าที่มีการใส่ชุดกาวน์กันน้ำหรือชุดอวกาศในการป้องกันตนเอง ทำให้เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจในการดูแล ขอยืนยันว่าขณะนี้หญิงรายดังกล่าวยังไม่ถือว่าเป็นผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วย แต่ถือว่าเข้าข่ายต้องสอบสวนโรค ส่วนผู้สัมผัสกับหญิงรายดังกล่าวพบว่า มีทั้งหมด 16 คน โดยจะมีการติดตามดูแลแยกตัวควบคุมโรคตามมาตรฐาน" ปลัด สธ. กล่าว

นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ทีมสอบสวนโรคประจำจังหวัดได้สอบสวนโรคเบื้องต้น พบว่า หญิงรายดังกล่าวเดินทางเข้ามาหาสามีในไทยและทำธุรกิจ ยังไม่มีประวัติสัมผัส อย่างไรก็ตาม คร.ได้ส่งเจ้าหน้าที่สอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SART) จากส่วนกลางลงไปในพื้นที่แล้ว คาดว่าจะได้ข้อมูลสอบสวนโรคที่มากยิ่งขึ้น ส่วนการติดตามผู้สัมผัสหญิงรายดังกล่าวจำนวน 16 คน ซึ่งมีทั้งคนไทยและคนต่างชาตินั้น จะมีการสอบสวน สัมภาษณ์ว่ามีการสัมผัสใกล้ชิดกับหญิงรายดังกล่าวมากขนาดไหน หากมีความเสี่ยงสูงก็จะรับไว้ในห้องแยกโรคของโรงพยาบาลเพื่อติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะพ้น 21 วันตามระยะการฟักตัวของโรค หรือจนกว่าผลการตรวจเลือดของหญิงรายดังกล่าวจะชัดเจนว่าไม่ได้ติดเชื้ออีโบลา ส่วนสามีของหญิงรายดังกล่าวพบว่าเดินทางออกไปต่างประเทศตั้งแต่เมื่อ 5 เดือนก่อนแล้ว

นพ.โสภณ กล่าวว่า อาการของผู้ที่เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคอีโบลามีทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ต้องสอบสวนโรค โดยพบว่าเดินทางมาจากพื้นที่ระบาด และมีไข้ 2.กลุ่มสงสัยว่าติดเชื้อ คือมีอาการชัดเจนกว่ากลุ่มแรก คือ มีเลือดออก 3.อาการน่าจะเป็นคือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่แต่ยังไม่มีผลตรวจยืนยัน และ 4.มีผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการชัดเจน หญิงรายดังกล่าวจึงเข้าข่ายกรณีแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น