++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปริศนาธรรมจาก"พระพุทธรูป"

ปริศนาธรรมจาก"พระพุทธรูป"

พระพุทธรูป เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ชาวพุทธให้ความเคารพศรัทธามาก บางแห่งก็มีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น หลวงพ่อพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัด พิษณุโลก เป็นต้น

ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์นั้น มีตำนานเล่า ขานกันมา มากบ้างน้อยบ้างสุดแท้แต่ ความศรัทธาของชาวบ้าน แต่สิ่งที่เหมือนกันของรูปเปรียบหรือตัวแทนของพระพุทธเจ้านี้ ที่สังเกตเห็น ได้มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ

๑. พระเศียรแหลม มีคำถามว่า ทำไมพระพุทธรูปจึงมี พระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเรา ก็เป็นมนุษย์
...ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็น ปริศนาธรรม พระเศียรที่แหลมนั้น หมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลม ในการดำเนินชีวิต สอนให้ชาวพุทธ แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ ใช้อารมณ์ หากใช้ปัญญาคิดพิจารณา ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึง ทำ ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นน้อย หรือ ไม่เกิดขึ้นเลย

๒. พระกรรณยาน หรือ หูยาน เป็นปริศนาธรรม ให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือ มีจิตใจหนักแน่นมั่นคงนั่นเอง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แต่คิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคายแล้วจึงเชื่อ ในฐานะที่เป็น ชาวพุทธ ก็ต้องเชื่อในกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บุคคลหว่านพืช เช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่าไม่มีอะไรทำให้ใครเป็นอะไรๆ ทั้งนั้น แต่ตัวเราเองนั่นแหละ ทำให้เราเป็นสุขเป็นทุกข์ คนเราจะดีจะชั่วจะเสื่อมจะเจริญ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์ สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับการทำ การพูด การคิดของตนเอง นี้เป็นการเชื่อตาม หลักของพระพุทธศาสนา

๓. พระเนตรมองต่ำ พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไป จะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ อย่างในพระอุโบสถของวัด ทั่วไป จะนั่งมองดูพระวรกาย ไม่ได้มองดูหน้าต่างหรือมองดูประตู พระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง นี้เป็นปริศนาธรรม สอนให้มองตนเองพิจารณาตนเอง ตักเตือนแก้ไขตนเอง ไม่ใช่คอยจับ ผิดผู้อื่น ซึ่งตามปกติของคนแล้วมัก จะมองเห็นความผิดพลาดของบุคคล อื่น แต่ลืมมองของตนเอง ทำให้สูญ เสียเวลาและโอกาสในการปรับปรุง พัฒนาตนเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัว เราได้ดีกว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ ตรัสให้เตือนตนเองว่า

"อตฺตนา โจทยตฺตาน" =
จงเตือนตน ด้วยตนเอง
จงเตือนตนของตน ให้พ้นผิด
ตนเตือนจิตตนได้ ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนเตือนไม่ได้ ใครจะเตือน
ตนแชเชือนรีบเตือนตน ให้พ้นภัย

ที่กล่าวมาทั้ง 3 ประการนั้น เป็นการสอน โดยใช้ปริศนาธรรมจากพระ พุทธรูปเป็นสื่อการสอนใจตนเอง
ดังนั้น ชาวพุทธเมื่อมีปัญหาอะไร แก้ไขไม่ได้ คิดไม่ตก ก็เข้าวัดเสียบ้าง นั่งประนมมือตรงหน้าพระพุทธรูป หรือ ถ้าที่บ้านมีพระพุทธรูป ก็นั่งประนมมือต่อหน้าพระพุทธรูป ที่บ้านนั่นแหละ ค่อยค่อยเพ่งพินิจที่ พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะกราบ

จะมองเห็นพระเศียร แหลม สอนใจตนว่า "อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์นะ ใจเย็นเย็น ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ ได้ ค่อยๆ คิด ค่อยๆแก้ ด้วยสติปัญญา ที่เฉียบแหลม เหมือนพระพุทธเจ้าของ เราที่พระองค์ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา"

เห็นพระกรรณยานก็บอกตน เองว่า "สุขุมเยือกเย็นมีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยใจตามอารมณ์หรือหุนหัน พลันแล่น เดี๋ยวจะผิดพลาดได้ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคง เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล"

เห็นสายพระเนตรที่มองต่ำก็บอกตน เองว่า "มองตนเองบ้างนะ อย่าไปมองคน อื่นมากนักเลยเดี๋ยวจะ ไม่สบายใจ การมองตนเองบ่อยบ่อย จะได้พิจารณาตนเองปรับปรุงตนเอง และแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น"
จากนั้นก็ค่อยกราบพระพุทธรูปด้วยสติปัญญาและจิตใจที่ชื่นบาน นี้เรียกว่า "ยิ่งกราบยิ่งฉลาด"

...สมกับเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่แท้จริง....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น