++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน

ประสาทหูเสื่อมชนิดเฉียบพลัน
บางคนเรียกว่า “โรคหูดับฉับพลัน” หมายถึง การที่ประสาทหูเกิดการเสื่อมทันทีทันใด หรือภายในระยะเวลาสั้นๆ (sudden sensor neural hearing loss) ซึ่งร้อยละ 85-90 ไม่ทราบสาเหตุ มีเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่ทราบสาเหตุ
ผู้ที่เป็นโรคนี้ อาจมีอาการเพียงรู้สึกได้ยินน้อยลงเล็กน้อย หรืออาจจะรู้สึกสูญเสียการได้ยินมาก จนไม่ได้ยินในหูข้างที่เป็นเลยก็ได้ การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟังเสียงเสียดังกล่าว อาจเป็นเพียงชั่วคราว (เช่น ได้ยินเสียงดังทำให้หูอื้อ และสักพักหูจะหายอื้อ หรือรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน, ยาขับปัสสาวะ แล้วหูอื้อ เมื่อยาดังกล่าวหมดฤทธิ์อาการหูอื้อจะหายไป) อาจเป็นถาวรก็ได้ จนถึงขั้นหูหนวก ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาช้าเกินไป
โรคนี้พบได้ไม่บ่อย จากสถิติของโรงพยาบาลศิริราช พบภาวะนี้ร้อยละ 7.7 ของผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมทั้งหมดที่มาพบแพทย์ ส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยสูงอายุ (40 - 70 ปี) มักเกิดที่หูข้างเดียว โดยพบในเพศชายเท่ากับเพศหญิง
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจาก
1. การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัด, หัดเยอรมัน, งูสวัด, คางทูม, ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้มีการอักเสบของประสาทหูและเซลล์ประสาทหู ทำให้อวัยวะดังกล่าวทำหน้าที่ผิดปกติไป เชื้อไวรัสสามารถผ่านเข้าสู่หูชั้นในทางกระแสเลือด, ผ่านทางน้ำไขสันหลัง, ผ่านเข้าหูชั้นในโดยตรง (ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัดและไข้หวัดใหญ่ มักทำให้ประสาทหูเสื่อมทั้ง 2 ข้าง ส่วนไวรัสที่ทำให้เกิดโรคคางทูม มักทำให้ประสาทหูเสื่อมเพียงข้างเดียว)
2. การอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน ทำให้เซลล์ประสาทหูและประสาทหูขาดเลือด จึงทำหน้าที่ผิดปกติไป เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน หรือเซลล์ประสาทหูนั้น ไม่มีแขนงจากเส้นเลือดใกล้เคียงมาช่วย เมื่อมีการอุดตันจะทำให้เซลล์ประสาทหูตาย และเกิดประสาทเสื่อมได้ง่าย เส้นเลือดอาจอุดตันจาก
2.1 เส้นเลือดแดงหดตัวเฉียบพลันจากความเครียด, การพักผ่อนไม่เพียงพอ, อ่อนเพลีย หรือไม่ทราบสาเหตุ
2.2 เส้นเลือดที่เสื่อมตามวัย แล้วมีไขมันมาเกาะตามเส้นเลือด (arteriosclerosis) และมีโรคบางโรคที่อาจทำให้เส้นเลือดดังกล่าวตีบแคบมากขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคเบาหวาน
2.3 เลือดข้นจากการขาดน้ำ, การขาดออกซิเจนเรื้อรัง
2.4 มีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือด (embolism หรือ thrombosis) อาจเกิดจากโรคหัวใจ, จากการบาดเจ็บที่อวัยวะต่าง ๆ
2.5 การอักเสบของเส้นเลือด (vasculitis)
3. การรั่วของน้ำในหูชั้นในเข้าไปในหูชั้นกลาง (perilymphatic fistula) ซึ่งอาจเกิดจากการเบ่ง, การสั่งน้ำมูกแรงๆ, การไอแรงๆ หรือการที่มีความดันในสมองสูงขึ้น ทำให้ประสาทหูเสื่อม มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน และเสียงดังในหู
ทราบสาเหต อาจเกิดจาก
1. การบาดเจ็บ
1.1 การบาดเจ็บที่ศีรษะ อาจทำให้เกิดการรั่วของน้ำในหูชั้นใน เข้าไปในหูชั้นกลาง หรือกระดูกบริเวณกกหูหัก (fracture of temporal bone) ทำให้มีการบาดเจ็บของเส้นประสาทหู เซลล์ประสาทหู หรือมีเลือดออกในหูชั้นใน
1.2 การผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดหูชั้นกลาง (มีการเคลื่อนไหวของกระดูกหู) หรือหูชั้นใน เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกโกลน (stapedectomy) เพื่อให้การได้ยินดีขึ้น, การผ่าตัดเนื้องอกของหูชั้นกลาง หรือของประสาทการทรงตัว (acoustic neuroma)
1.3 การเปลี่ยนแปลงของความกดดันของหูชั้นใน เช่น การเปลี่ยนแปลงของความกดดันของบรรยากาศ (barotraumas) เช่น ดำน้ำ, ขึ้นที่สูง หรือเครื่องบิน และได้ยินเสียงที่ดังมากในระยะเวลาสั้นๆ (acoustic trauma) เช่น เสียงปะทัด , เสียงระเบิด, เสียงปืน
2 . เนื้องอก เช่น เนื้องอกของประสาททรงตัวที่มีการเพิ่มขนาดอย่างเฉียบพลัน เช่น มีเลือดออกในก้อนเนื้องอก จนอาจไปกดทับประสาทหูได้
3. การติดเชื้อของหูชั้นใน เช่น หูชั้นในอักเสบ (labyrinthitis) จากหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง (acute or chronic obits media), จากเชื้อซิฟิลิส, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (เชื้อแบคทีเรียมักเข้าสู่หูชั้นในทางน้ำไขสันหลัง ซึ่งมักจะทำให้ประสาทหูเสื่อมทั้ง 2 ข้าง)
4. สารพิษและพิษจากยา ยาบางชนิดอาจทำให้หูตึงชั่วคราวได้ เช่น ยาแก้ปวดที่มีส่วนประกอบของ salicylate, ยาขับปัสสาวะ หลังหยุดยาดังกล่าว อาการหูอื้อหรือหูตึงมักจะดีขึ้นและอาจกลับมาเป็นปกติ ยาบางชนิดอาจทำให้ประสาทหูเสื่อมอย่างถาวรได้ เช่น ยาต้านจุลชีพ กลุ่ม amino glycosides เช่น streptomycin, kanamycin, gentamicin, neomycin, amikacin ประสาทหูที่เสื่อมจากยานี้ อาจเกิดทันทีหลังจากใช้ยา หรือเกิดหลังจากหยุดใช้ยาไประยะหนึ่งแล้วก็ได้
5. โรคมีเนียหรือน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคนี้น้ำในหูที่มีปริมาณมาก อาจกดเบียดทำลายเซลล์ประสาทหู ทำให้ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันได้ มักมีอาการเสียงดังในหูหรือเวียนศีรษะบ้านหมุนร่วมด้วย
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อหรือการได้ยินลดลงในหูข้างที่เป็นอย่างเฉียบพลัน มักไม่ค่อยได้ยินเสียงเมื่อผู้พูดอยู่ไกล และมักได้ยินดีขึ้นในบรรยากาศที่เงียบสงัด ปราศจากเสียงรบกวน มักเป็นในหูข้างเดียว ถ้าเป็นทั้งสองข้างผู้ป่วยจะพูดดังกว่าปกติ อาจมีเสียงดังในหูซึ่งมักจะเป็นเสียงที่มีระดับความถี่สูง เช่น เสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่น หรือเวียนศีรษะร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจกลัวเสียงดังๆ หรือทนฟังเสียงดังไม่ได้ (เสียงดังจะทำให้เกิดอาการปวดหู และจับใจความไม่ได้
อ่านเพิ่ม ที่ http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=777

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น