++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕
(ขยายความ จากพจนานุกรมพุทธศาตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย ท่านพระธรรมปิฏก)
ข้อที่สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณาเนืองๆ
       ๑. ชราธัมมตา  ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
       ๒. พยาธิธัมมตา  ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไมล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้
       ๓. มรณธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
       ๔. ปิยวินาภาวตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
       ๕. กัมมัสสกตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาท ของกรรมนั้น

       ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ อย่างนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อละสาเหตุต่างๆ มี ความมัวเมา เป็นต้น  ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความประมาท และประพฤติทุจริตทางไตรทวาร กล่าวคือ :-
       ข้อ ๑ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความเป็นหนุ่มสาวหรือความเยาว์วัย
       ข้อ ๒ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความไม่มีโรค คือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดี
       ข้อ ๓ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในชีวิต
       ข้อ ๔ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความยึดติดผูกพันในของรักทั้งหลาย
       ข้อ ๕ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความทุจริตต่างๆ โดยตรง

       เมื่อพิจารณาขยายวงออกไป เห็นว่ามิใช่ตนผู้เดียวที่ต้องเป็นอย่างนี้ แต่เป็นคติธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่จะต้องเป็นไป เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้เสมอๆ มรรคก็จะเกิดขึ้น เมื่อเจริญมรรคนั้นมากเข้า ก็จะละสังโยชน์ทั้งหลาย สิ้นอนุสัยได้.

พระคาถาดังกล่าว  ควรพิจารณาอยู่เนืองๆเป็นอเนก  เพื่อให้เกิดนิพพิทา  ไม่ใช่เฉพาะเวลาสวดมนต์แต่อย่างเดียว จึงจักบังเกิดผลยิ่ง
เป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ  ให้ประกอบกรรมดี
และไม่ใช่เพื่อการพิรี้พิไรรำพันโอดครวญ  หรือไปกังวลถึงกรรมในอดีตที่ผ่านไปแล้ว

                         .................................................

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/05/abinha-panca-vekkhana-5.html)

อภิหปัจจเวกขณ์ ๕
๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่างพ้นความแก่ไปได้
๒. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เรามีความตายเป็นธรรม ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

๑. ชรา ความแก่ มี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนชรา แก่ที่ปกปิดได้แก่ความแก่ขึ้น นับตั้งแต่เกิดแล้วก็แก่ขึ้นโดยลำดับ จนถึงวัยกลางคนแก่อย่างนี้มองไม่เห็น เหมือนของที่ปิดบังไว้ แต่ผู้มีปัญญาย่อมรู้เห็น
๒. อัปปฏิจฉันนชรา แก่ที่ไม่ปกปิด ได้แก่ความแก่ลง นับตั้งแต่วัยกลางคนแล้วก็แก่ลงไป ใครๆ ก็ย่อมมองเห็นได้ชัด เช่น หนังเหี่ยวแห้งหย่อนยาน ผมหงอก ฟันหัก เป็นต้น ความแก่นี้เป็นเรื่องธรรมดาอย่างหนึ่ง
๒. พยาธิ ความเจ็บ มี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนพยาธิ ความเจ็บที่ปกปิด ได้แก่ความหิว ความกระหาย ความเมื่อยขบในขณะที่นั่งนานเป็นต้น ซึ่งเป็นความเจ็บไข้ที่ทนได้ยาก แต่แก้ได้ง่าย จึงมองไม่เห็นว่าเป็นความเจ็บ
๒. อัปปฏิจฉันนพยาธิ ความเจ็บที่ไม่ปกปิดได้แก่ความป่วยไข้อันเกิดจากสมุฏฐานต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในร่างกายเช่น โรคผิวหนัง โรคตาแดง โรคหวัด โรคปอด โรคกระเพาะโรคลำไส้ หรือเกิดอุปัทวเหตุ ขาหัก แขนหักเป็นต้น ความเจ็บนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาอย่างหนึ่ง
๓. มรณะ ความตาย มี ๒ อย่าง คือ
๑. ปฏิจฉันนมรณะ ความตายปกปิด ได้แก่ความตายที่มาพร้อมกับความเกิดเช่น ตายจากเด็กอ่อน เกิดเป็นเด็กแก่ ตายจากเด็กเล็ก เป็นเด็กรุ่น เป็นคนหนุ่ม-สาวตายจากหนุ่ม - สาว เป็นผู้ใหญ่ ตายจากผู้ใหญ่ เป็นคนแก่ ตายจากคนแก่ เป็นคนเฒ่า
๒. อัปปฏิจฉันนมรณะ ความตายไม่ปกปิด ได้แก่ชีวิตดับ อาจดับในขณะเป็นเด็ก หรือกลางคน หรือแก่-เฒ่าก็ได้ความตายนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาอย่างหนึ่ง
๔. ความพลัดพราก ก็มี ๒ อย่าง คือ
๑. ความพลัดพรากที่ปกปิด เช่น ร่างกายเราเองในตอนเป็นเด็ก ๆ น่ารัก เราก็พรากจากเด็กมาเสียแล้ว และก็พลัดพรากจากร่างกายในวัยนั้นๆ ของตนเองเสมอโดยไม่รู้สึกตัว แม้ความสุขสำราญ ความจำ ความคิด ความรู้สึก ที่ตนชอบก็พลัดพรากจากไปทุกวัน แต่เมื่อไม่พิจารณาก็ไม่รู้ไม่เห็น
๒. ความพลัดพรากที่ไม่ปกปิด เช่น ทรัพย์สูญหาย คนที่รักเช่นพ่อแม่ลูกเป็นต้นหายไป ตายไป ความพลัดพรากนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาอย่างหนึ่ง
๕. กรรม มี ๒ อย่าง คือ
๑. กรรมดี อำนวยผลให้ดี มีความสุขความเจริญ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในอนาคต
๒. กรรมชั่ว อำนวยผลให้ชั่วมีความทุกข์ความเดือดร้อน ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในอนาคต
คำว่า เรามีกรรมเป็นของตัว หมายความว่า กรรมดีก็ตามกรรมชั่วก็ตาม เราทำลงไปแล้ว ย่อมคงเป็นสมบัติติดตัวตามตนไปทุกหนทุกแห่ง จะยกให้ใครก็ไม่ได้ ใครมาขอหรือแย่งชิงไปก็ไม่ได้ หรือเราไม่ได้ทำเอง ไปขอของผู้อื่นมาเป็นของตนก็ไม่ได้ จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันก็ไม่ได้ เรื่องกรรมนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาอย่างหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น