++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

งอนให้ได้อะไร? ดังตฤณ กันยายน ๕๗

งอนให้ได้อะไร?
ดังตฤณ
กันยายน ๕๗

ความงอน ขี้น้อยใจ
"จึงไปทำบาป" แล้ว "ล้างบาป" ได้ไหมหนอ ?
ได้โปรดตอบให้ด้วยเถิด...

พระเจ้าสุปปพุทธะ "น้อยใจ"
เจ้าชายสิตถัตถะ ทำให้เจ้าหญิงยโสธรา (พิมพา)
ธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะเป็นหม้าย
พระเจ้าสุปปพุทธะ "จึงไปทำบาป"
ด้วยการเกณฑ์อำมาตย์ข้าราชบริพาร
ไปนั่งเสพเมรัย "ขวางทาง" ที่พระพุทธองค์
จะออกบิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์
ซึ่งทางนั้นมีเพียงทางเดียวเท่านั้น
ที่พระพุทธองค์จะเสด็จดำเนินไปได้
เมื่อเสด็จดำเนินผ่านไม่ได้
เพราะพระเจ้าสุปปพุทธะ
กับบริวารขวางอยู่วันนั้น
พระพุทธองค์ทรงอดพระกระยาหาร ๑ วัน

พระเจ้าสุปปพุทธะ "น้อยใจ"
จึงไปทำบาป แล้ว "ล้างบาป" ได้ไหมหนอ ?
ได้โปรดตอบให้ด้วยเถิด...

เมื่อ 'พระพุทธเจ้า'
ตรัสสั่งสอนเตือน "สติ"
ของผู้ที่ทำ "ไม่ดี, ชั่ว"
ว่า... "โมฆะบุรุษ"

บุคคล "บางคน" ในโลกนี้
เป็นคนไม่ดี, ชั่ว "น้อยใจ"
"จึงไปทำบาป"
ด้วยการตอบแบบลอยๆ
กับ 'พระพุทธเจ้า'
ว่า... สมณะศีรษะโล้น
ท่านเป็นใคร เราเป็นใคร
เรา "พึ่งตัวเองได้"
แต่งตำราออกขาย
ได้เงินมากมาย แบบสบายๆ
เราไม่กลัวความผิดพลาดใดๆ
เรา "ยอมผิด" บ่อยๆ

บุคคล "บางคน" ในโลกนี้
เป็นคนไม่ดี, ชั่ว "น้อยใจ"
จึงไปทำบาป แล้ว "ล้างบาป"
ด้วยการ "สวดอิติปิโส
ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า"
ล้างบาป ได้ไหมหนอ ?
ได้โปรดตอบให้ด้วยเถิด...
............................................
หมายเหตุ: "สีเขียว" ในที่นี้
ใช้เพื่อระลึกถึง "ใบโพธิ์" ที่ "ต้นโพธิ์"
ไม่ได้เกี่ยวกับ "สี" ที่ "รั้วของชาติ"
ที่ไหนใดๆในโลกนี้ "ใช้" ใดๆทั้งสิ้น
     
โพธิพฤกษ์  หรือ  ต้นโพธิ์,
ต้นพระศรีมหาโพธิ์      
เป็นต้นไม้เป็นที่่ตรัสรู้ ('โพธิ'
หมายถึง 'ปัญญา' เป็นเครื่องตรัสรู้)
เป็นต้นไม้ที่ 'พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมสัมพุทธเจ้า'
ทรงบำเพ็ญพระบารมีมา
ตลอดระยะเวลานาน
ถึง "สี่อสงไขยแสนกัปป์"
เมื่อทรงเป็นพระโพธิสัตว์
เพื่อที่จะได้เสด็จมาประทับ
ณ บริเวณใต้ต้นไม้ต้นนี้      
แล้วตรัสรู้เป็น 'พระสัมมาสัมพุทธเจ้า'
เป็นการตรัสรู้โดยชอบได้โดยพระองค์เอง    
ไม่มีใครเป็นครูเป็นอาจารย์        
'โพธิพฤกษ์' จึงเป็นบริโภคเจดีย์    
เป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงใช้สอย  
เป็นเครื่องเตือนให้พุทธศาสนิกชน
ได้ระลึกถึง 'พระสัมมาสัมพุทธเจ้า'      
ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม ได้เข้าใจพระธรรม    
ก็จะซาบซึ้งในพระคุณของพระองค์
ที่ทรงมีพระมหากรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ด้วยการทรงแสดงพระธรรมตลอด ๔๕  พรรษา    
วันหนึ่ง ๆ พระองค์ทรงมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก          
ทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลกโดยแท้  
เมื่อได้เดินทางไปกราบนมัสการ
สังเวชนียสถาน และ พุทธสถาน
ที่ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะที่พุทธยคา
ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงตรัสรู้
ก็จะมีต้นพระศรีมหาโพธิ์
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่ไป
ก็จะเก็บใบที่ร่วงหล่นลงมาที่พื้น
เพื่อสักการะบูชาระลึกถึง
'พระคุณ' ของ 'พระองค์'.
...........................
มีข้อความว่า      
คำว่า สัตว์เหล่านั้น "เป็นผู้ตกต่ำ"
ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ

มีความว่า คำว่า "ตกต่ำ"
คือ แม้สัตว์ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ"
แม้ผู้มีความตระหนี่ ก็ชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ"
ผู้ไม่เชื่อถือคำ ถ้อยคำ เทศนา คำสอน
ของ 'พระพุทธเจ้า' และ 'สาวก'
ของ 'พระพุทธเจ้า' ทั้งหลาย
ก็ชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ"
     
ผู้ไปต่ำ ชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ" อย่างไรหนอ ?
สัตว์ผู้ไปต่ำ ก็คือ สัตว์ที่ไปสู่นรก
ไปสู่ดิรัจฉานกำเนิด ไปสู่เปรตวิสัย
ชื่อว่า "ไปต่ำ"
ผู้ไปต่ำอย่างนี้ จึงชื่อว่า "ผู้ตกต่ำ"
................................................      
ท่านทั้งหลาย พึงพิจารณา
จากข้อความใน ขุททกนิกาย มหานิทเทส
คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ที่ ๒ ข้อ ๔๒
................................................
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
................................................
พระเจ้าสุปปพุทธะ "น้อยใจ"
จึงไปทำบาป แล้ว "ล้างบาป"
ยังไง แบบไหน ก็ไม่ได้
แม้จะสวดอิติปิโส ตลอดวัน ตลอดคืน
ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
ก็ "ล้างบาป" ที่ทำเอาไว้ไม่ได้
พระเจ้าสุปปพุทธะ ถูกธรณีสูบ
ไปเกิดเป็นสัตว์นรก ใน "อเวจีมหานรก"

บุคคล "บางคน" ในโลกนี้
เป็นคนไม่ดี, ชั่ว "น้อยใจ"
จึงไปทำบาป แล้ว "ล้างบาป"
ด้วยการสวดอิติปิโส ตลอดวัน ตลอดคืน
แม้จะสวดจน "ตลอดชีวิต"
เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
ก็ "ล้างบาป" ที่ทำเอาไว้ไม่ได้
เมื่อแตกกายตายไป เข้าสู่ทุคติ
อบายภูมิ มี "นรก" เป็นต้น.
...................................................
ทำ "บาป, ชั่ว" แล้ว
ล้าง "บาป, ชั่ว" ได้หรือไม่ ?

ศาสนาพุทธ สอนเรื่อง "ความจริง"
เมื่อทำ "ชั่ว" เอาไว้
ก็ต้องได้รับผล "ไม่ดี, ชั่ว"

"ความจริง" บาป คืออะไร ?
"ความจริง" บุญ คืออะไร ?

บาป คือ "อกุศลจิต"
และ "อกุศลกรรม"
เมื่อกระทำความ "ชั่ว"

บุญ คือ "กุศลจิต"
และ "กุศลกรรม"
เมื่อกระทำความ "ดี"

การกระทำใดๆนั้น
เมื่อได้กระทำไปแล้ว
ก็ไม่อาจที่จะเรียกร้อง
ให้กลับคืนมาได้
ไม่ว่าการกระทำนั้น
จะเป็น "บุญ" หรือ "บาป"


{พระอุบลวรรณาเถรี}
สตรีผู้มีโฉมงดงาม
เป็นที่หมายปองของชายผู้พบเห็น
ตั้งแต่พระราชาและเศรษฐี คหบดีทั่วไป
"นันทมานพ" ปรารถนาจะลิ้มรสสวาท
แม้พระอรหันต์อุบลวรรณาเถรี
เตือนสติให้เขาสำนึกในการกระทำว่า
“จงอย่าทำเช่นนี้เลย ความหายนะจะมาสู่ท่าน”
นันทมานพก็หาฟังไม่
ปลุกปล้ำ "พระอุบลวรรณาเถรี"
จนสำเร็จดังใจปรารถนา
แม้คนในโลกนี้ จะยกโทษให้
ในการกระทำชั่วของ "นันทมานพ"
แม้ "นันทมานพ" สวดอิติปิโส
แต่.. "นันทมานพ" พอเขาก้าวลงจากแคร่
ธรณีก็เปิดอ้าสูบลงไปในขุมนรกอเวจี
เพราะกรรมชั่วที่เขาทำเอาไว้
กับพระอรหันต์นั้น หนักหนาสาหัสนัก.

สมมติว่า เราตีเด็ก เด็กนั้นเจ็บ
แล้วเราก็ขอโทษเด็ก
ถึงเด็กจะไม่ถือโทษ
คือ ยกโทษให้เรา
แต่.. เด็กก็ถูกตี.. เจ็บไปแล้ว
เรียกเอา อาการตี
และ "อาการเจ็บ"
อันเกิดจาก "การตี" นั้น
กลับมา "ไม่ได้" ฉันใด
การกระทำชั่ว ก็ตาม
การกระทำดี ก็ตาม
เมื่อได้กระทำลงไปแล้ว
ก็ไม่อาจเรียก กลับคืนมาได้ ฉันนั้น


การกระทำชั่ว คือ บาป
เมื่อมีกระทำลงไปแล้ว
"ผล" ของการกระทำชั่วนั้น
ก็ต้องมี... ลบล้างไม่ได้
ความดี และ ความชั่ว
ไม่ใช่สิ่งของที่จะสามารถหยิบยื่น
ให้ใครๆ ก็ได้ เมื่อต้องการ
และ ไม่ใช่สิ่งที่จะหยิบ
"ทิ้ง" ไป เมื่อไม่ต้องการ
ทั้งนี้เพราะว่า ความดี
ความชั่วนั้น เป็น "นาม" ธรรม
ไม่ใช่ "รูป" ธรรม
ที่มีรูปร่าง  สัณฐาน
แต่.. "นาม" ธรรม
คือ ความดี, ความชั่ว
สะสมอยู่ในจิต
เพราะฉะนั้น เมื่อทำไปแล้ว
ก็ไม่สญหายไปไหน

เมื่อไม่ได้หายไปไหน
ผู้ที่ได้กระทำ "กรรม" นั้นๆแล้ว
จึงต้องรับทุกข์บ้าง สุขบ้าง
คละเคล้ากันไป
ตามเหตุ ตามปัจจัย ตลอดชีวิต

ไม่มีสักคนเลย ที่จะมีแต่สุข
หรือ มีแต่ทุกข์ อย่างเดียว
เพราะว่าทุกคนล้วนเคยกระทำ
ทั้ง "บุญ" และ "บาป" มากมาย
นานแสนนาน ที่ยังคงวนเวียนอยู่
ใน "สังสารวัฏฏ์"
ถ้าหากไถ่บาปได้
เราก็คงมีแต่ความสุข ไม่มีทุกข์เลย
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว....
ไม่ได้เป็นไปอย่างนั้นเลย.

ทุกคน... ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ก็ตาม
ก็ยังคงได้รับ "ผล" ของ "บาป"
คือ "ความทุกข์" กันอยู่ทั้งนั้น
มาก น้อย ตามแต่การสะสม
การกระทำ "บาป" ของผู้นั้น
เช่นที่ท่านทั้งหลาย
ได้ประสบพบเห็นกันอยู่.....
เป็นปกติในชีวิตประจำวัน
แม้แต่คนที่นับถือศาสนา
ที่มีการล้างบาป....ไถ่บาปได้
ก็ยังได้รับความทุกข์
เช่นเดียวกับคน ในศาสนาอื่นๆ

ส่วนเรื่องการตกนรก หรือ ไม่ตกนรกนั้น
ขึ้นอยู่กับว่า "บาป" ที่ทำแล้ว
ให้ "ผล" ในชาติต่อไปหรือไม่
ถ้าให้ผลนำเกิด ก็ตกนรกได้........
แต่ถ้ายังไม่ให้ผล
ก็ยังไม่ตกนรก ในชาติต่อไป  
(แต่.. อาจจะไปตกนรก
ในชาติต่อ ๆ จากชาติหน้าไป ก็ได้
....เมื่อบาปนั้น เป็นเหตุปัจจัย
ให้ "ผล" นำเกิด)

ด้วยเหตุนี้ การกระทำต่างๆ
ที่ผู้ใด ได้กระทำไปแล้ว
จึงไม่สามารถที่จะเรียกคืนมาได้
หรือ ล้างไปเสียได้
"ผล" ของการกระทำนั้น
จึงยังอยู่ แก่ผู้กระทำกรรมนั้น

โดยมีการสะสม และ สืบต่อ....
... ไว้ใน "จิต" นั่นเอง.

เมื่อมีเหตุปัจจัยถึงพร้อม
ก็แสดงผลตามควรแก่เหตุ
หากว่าผู้นั้น ยังเวียนว่ายตายเกิด
อยู่ใน "สังสารวัฏฏ์" นี้
ไม่ว่าผู้นั้น จะนับถือศาสนาอะไร...
...หรือ  ไม่นับถือศาสนาอะไรเลย ก็ตาม

... พระพุทธศาสนานั้น สอนแต่ความจริง...
ซึ่งเป็นกฏธรรมดา ของ "โลก" ...
ที่เป็น "สัจจะ" ทุกกาล
ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
หรือ อำนาจของผู้ใดทั้งสิ้น
ทุกชีวิต  ล้วนเป็นไปตาม "กรรม"
คือ "การกระทำ" ที่ตนได้ทำไว้
และ จะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น
ก็เพราะการกระทำของตนเอง

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเป็นทายาทของกรรม
คือ ผู้รับ "ผล" ของ "กรรม"
มีกรรม  เป็นกำเนิด (เป็นผู้นำเกิด)
มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรม  เป็นที่พึ่งอาศัย...
เมื่อทำกรรมดี  หรือ กรรมชั่วไว้
ก็ต้องเป็นผู้รับ "ผล"
ของกรรมดี  และ กรรมชั่วนั้น  ด้วยตัวเอง.
....นี่เป็นความจริง ที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้...

"บุญ" และ "บาป"
จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนาใดๆ เลย
แม้แต่ศาสดา ผู้สอนศาสนาเอง
ก็ไม่อาจลบล้าง "ความจริง" นี้ได้
ศาสดาใด...เข้าถึง "ความจริง"
ศาสดานั้น ก็สอนความจริง แก่สาวก
ศาสดาใด เข้าไม่ถึงความจริง  
ศาสดานั้น ก็ไม่อาจสอน "ความจริง"
แก่สาวก ของตนได้.

จริงอยู่... ศาสนาทุกศาสนา
สอนให้คนกระทำดี
แต่ว่า.. จะดีแค่ไหน ดีอย่างไร  
ดีได้ถึงที่สุดหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ซึ่งควรพิจารณา ด้วยปัญญา 'ญาณ'

ความจริงแล้ว พระพุทธศาสนา
มิได้สอนเพียงว่า
ไม่พึงทำบาป เพียงเท่านั้น...
แต่.. ยังสอนให้รู้หนทาง
ที่จะไม่ต้องทำบาป อีกเลย
แต่มิใช่ด้วยการ "ล้างบาป"
หรือ ด้วยการ "ไถ่บาป"
ที่ได้กระทำแล้ว.....
เพราะเป็นเรื่องที่ "เป็นไปไม่ได้".

ศาสนาพุทธสอนให้ "ละ"  คลาย
"บาปอกุศลธรรม" ด้วย "ปัญญา"
โดยการอบรมเจริญปัญญา....
ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา
คือ  การอบรมเจริญสติปัฏฐาน
ได้แก่....อริยมรรคมีองค์ ๘.

จนกว่า... ปัญญา 'ญาณ'
จากการอบรมเจริญวิปัสสนาภาวนา
จะคมกล้า สมบูรณ์พร้อม....
สามารถดับกิเลสได้ โดยสิ้นเชิง
และ ไม่เกิดอีกเลย
เป็นผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์  หมดจด
ปราศจากกิเลส
ก็คือ ผู้ที่บรรลุอรหัตตผล...
เป็น พระอรหันตขีณาสพ.

นี่คือ วิธีละบาป ในพระพุทธศาสนา
"เป็นที่สุด......แห่งความดีทั้งปวง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น