++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

"กรรม" คืออะไรหนอ ?

"กรรม" คืออะไรหนอ ?

"กรรม" คือ "การกระทำ" นั่นเอง

"กรรม" พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "เจตนาเจตสิก"
ซึ่งตามปกติ "เจตนาเจตสิก"
เกิดกับ "จิต" ทุกดวง
(ไม่มีจิตสักประเภทเดียวซึ่งจะขาดเจตนาเจตสิก)

เพราะฉะนั้น "เจตนาเจตสิก"
ที่เกิดกับ "กุศล" ก็เป็น "กุศลเจตนา"

"เจตนาเจตสิก"
ที่เกิดกับ "อกุศล"
ก็เป็น "อกุศลเจตนา"

"เจตนาเจตสิก"
ที่เกิดกับ "วิบาก"
เป็น "ผล" ของ "กุศล"
ก็เป็น "เจตนา" ที่เป็น "วิบาก"
(ไม่ใช่เป็นกุศลหรืออกุศลที่เป็นเหตุ)

"เจตนา" ที่เกิดกับ "กิริยาจิต"
ก็ไม่ใช่ทั้งกุศล ไม่ใช่ทั้งอกุศล
ไม่ใช่ทั้งวิบาก แต่ว่า...
เป็น "เจตนา" ที่เป็นเพียง "กิริยา" นั่นเอง.
         
ถ้าดูข้อความในอรรถกถา
จะมีคำว่า “กัมมสมาทาน”
แปลโดยศัพท์  หมายความว่า...
การถือเอาซึ่ง "กรรม"

ทุกท่านเวลาที่จะทำ "กุศล" มี "เจตนา"
มีความตั้งใจที่จะถือเอา
หรือ ที่จะกระทำแล้ว
ซึ่ง "กุศล" นั้นๆ  ใช่ไหมหนอ ?

อย่างท่านที่ตั้งใจจะถวายทาน
มีการถือเอา ซึ่ง "กรรม"
คือ "กระทำกรรม" นั้น
ต้องการที่จะ "กระทำกรรม" นั้น
ต้องการที่จะถือกรรมนั้น
ต้องการจะเอาซึ่งกรรมนั้น  
ต้องการจะกระทำกรรมนั้น นั่นเอง    

หรือ ขณะที่จะกระทำ "อกุศลกรรม"
ชนิดหนึ่งชนิดใด
"กัมมสมาทาน"
การถือเอาซึ่ง "กรรม"
ได้แก่ การตั้งใจยึดถือ
ที่จะ "กระทำกรรม" นั้น
เป็นลักษณะสภาพธรรม
ที่ปรากฏได้ใช่ไหมหนอ ?
ตั้งใจจะกระทำซึ่งกรรมใด  
ก็คือ การถือเอาซึ่งกรรมนั้น
ด้วยความตั้งใจ จงใจ
ยึดถือที่จะกระทำกรรมนั้น นั่นเอง
         
เพราะฉะนั้นกรรมของแต่ละท่าน
ก็ต้องต่างกันไปตามกัมมสมาทาน
การตั้งใจที่จะถือเอาซึ่งกรรมนั้นๆ นั่นเอง
         
นี่ก็คือ "กรรม" ที่ต่างๆกันของแต่ละบุคคล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น