++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

คำสอนแห่งพุทธะ คำสอนเพื่อชัยชนะ

คือการมองเห็นศักยภาพที่สูงส่งที่สุด ที่พวกเขามองไม่เห็นในชีวิตของพวกเขา เป็นศักยภาพที่กว้างใหญ่และไม่จำกัดเหมือนจักรวาล และยังมีโดยเท่าเทียมกันในชีวิตของประชาชนทุกคน

พฤติกรรมที่ถูกต้องของพระพุทธะคือ การพยายามดึงศักยภาพนั้นให้ออกมาจากทุกคน อีกนัยหนึ่งเหล่าผู้ซึ่งต่อสู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ทุกคนบรรลุพุทธภาวะ คือพระพุทธะที่แท้จริง

ถ้าหลักการที่สำคัญที่สุดนี้ถูกมองข้ามไปแล้ว ถึงแม้ประชาชนจะนับถือพระพุทธะ การทำเช่นนั้นกลับเป็นการปฏิบัติต่อพระพุทธะ ในฐานะผู้มีพลังอิทธิฤทธิ์ เป็นบางอย่างที่แยกออกจากตัวของเราเอง เปลี่ยนพุทธธรรมให้เป็นรูปแบบของการอธิษฐานขอ หรือตั้งความปรารถนาเท่านั้น
พุทธธรรมแต่เดิมเป็นคำสอนเรื่องศักดิ์ศรีที่สูงส่งของประชาชนทุกคน

ในสมัยของไดโชนิน ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นศาสนาที่ดูถูกและลดค่ามนุษย์ ไดโชนินต่อสู้กับการดูหมิ่นธรรมดังกล่าว ที่เกิดจากหลักธรรมที่ผิดของนิกายพุทธศานาที่มีอยู่ในเวลานั้น

พุทธธรรมเริ่มต้นในฐานะ ศาสนาแห่งมนุษยนิยม สอนว่าประชาชนทุกคนเป็นพระพุทธะ และทุกคนมีค่าน่าเคารพสูงสุด ไม่ได้สอนว่ามีโลกของศาสนาที่สูงกว่า อยู่ในที่ใดที่หนึ่งแยกออกจากตัวของเรา แต่ยืนยันว่าธรรมมีอยู่ภายในตัวเรา การแสดงออกของหลักการสูงสุดนี้ พบได้ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร

ยิ่งกว่านั้น “พุทธธรรมเพื่อประชาชน” ที่สอนโดยพระนิชิเร็นไดโชนิน ได้เสนอวิธีที่ใครก็ตามสามารถแสดงสภาวะพุทธะที่ไม่มีอะไรมาเทียบได้ ในชีวิตของพวกเขาเองออกมา ดังที่พวกเขาเป็นอยู่
แท้จริงแล้ว พุทธธรรมของไดโชนินคือ เสียงคำรามของราชสีห์ ทำให้สัตว์อื่นทั้งหลายที่ลดศักดิ์ศรีของมนุษย์เงียบเสียงลง เป็นดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงความมืดมิดของอวิชชา ที่ขัดขวางศักยภาพของมนุษย์

ไดโชนินก่อตั้งคำสอนที่เปิดและเข้าถึงได้ให้แก่ประชาชนทุกคน ในสมัยธรรมปลาย
ความเชื่อมั่นที่สูงส่งของไดโชนินส่องแสงอย่างสว่างไสว อยู่ในคำประกาศของท่านว่า “ถ้าเสียงสวด นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว ถูกเปล่งออกมา นิกายสุขาวดีจะเหมือนกับสุนัขที่หมอบต่อหน้าราชสีห์ หรือแสงดาวที่เลือนหายไปต่อหน้าดวงอาทิตย์
(ธรรมนิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษเล่ม 1 หน้า 959)

(คำสอนเพื่อชัยชนะ[62] “เต่าตาเดียวกับท่อนไม้ลอยน้ำ” จงต่อสู้อย่างกล้าหาญด้วยความปีติยินดีและความรู้สึกถึงภาระหน้าที่ในฐานะราชสีห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น