++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้าวเปล่าหนึ่งถ้วย : เรื่องดีๆที่น่าอ่าน

เรื่องราวดีๆ..เกี่ยวกับการให้ ที่หลายคนคงเคยอ่านมาบ้างแล้ว..แต่อยากนำมาเล่าใหม่..สำหรับคนที่ยังไม่เคยอ่าน " ข้าวเปล่าหนึ่งถ้วย "

อยากให้ทุกคนอ่าน ลองดูนะขอบคุณความยากจน ความเพียร ความมุ่งมัน ความชัดเจน และจริงใจค่ำวันหนึ่งเมื่อ20ปีที่แล้ว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งท่าทางเหมือนนักศึกษากำลังลังเลอยู่หน้าร้านบุฟเฟต์แห่งหนึ่ง เมื่อลูกค้าส่วนมากออกจากร้านแล้ว เขาจึงเดินเข้าร้านมาด้วยอาการเขินอาย“ขอข้าวเปล่าถ้วยหนึ่ง ขอบคุณครับ ” เด็กหนุ่มก้มหน้าพูดเจ้าของร้านบุฟเฟต์เพิ่งเปิดใหม่เป็นเถ้าแก่หนุ่มสาวคู่หนึ่ง เห็นเด็กหนุ่มไม่เอากับข้าวก็รู้สึกสะท้อนใจ แต่ก็ไม่ได้ถามอะไร เขารีบตักข้าวพูนถ้วยส่งให้กับเด็กหนุ่มคนนั้นเด็กหนุ่มจ่ายเงินพร้อมกับพูดด้วยเสียงแผ่วเบาว่า“ผมขอน้ำแกงราดบนข้าวสักหน่อยได้ไหมครับ?”“ตามสบายเลยค่ะ ไม่คิดตังค์” เถ้าแก่เนี้ยพูดเขากินไปได้ครึ่งถ้วย ก็สั่งอีกถ้วยหนึ่ง“ไม่อิ่มใช่ไหม? ถ้วยนี้เดี๋ยวผมตักให้คุณมากหน่อย” เถ้าแก่พูดด้วยความเอาใจใส่“ไม่ใช่ครับ ผมเอาใส่กล่อง พรุ่งนี้จะเอาไปกินที่มหาลัยนะครับ”เมื่อเถ้าแก่ได้ยิน ก็เดาออกว่า เด็กหนุ่มคนนี้คงมาจากต่างจังหวัดในเขตภาคใต้เป็นแน่ ฐานะที่บ้านคงไม่สู้จะดีนัก เขาคงมาเรียนที่ไทเปคนเดียว และคงจะทำงานและก็เรียนไปด้วย ดูก็รู้ว่าเด็กคนนี้คงจะลำบากอยู่ไม่น้อยเขาจึงตักโร่วจ้าว(เนื้อเคี่ยวซอสสำหรับราดบนข้าว)ใส่ไว้ที่ใต้กล่องข้าว จากนั้นก็เอาไข่ตุ๋นชาใส่ไปหนึ่งฟอง จากนั้นจึงตักข้าวอัดไปเต็มกล่อง มองดูแล้วเหมือนไม่มีอะไรอยู่ในกล่องข้าว นอกเสียจากข้าวเปล่าเมื่อภรรยาของเขาเห็นดังนั้น ก็เข้าใจในสิ่งที่สามีกำลังทำว่าต้องการช่วยเหลือเด็กหนุ่มคนนี้ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่ราดโร่วจ้าวไว้บนข้าว จะใส่ไว้ใต้ข้าวทำไม?เถ้าแก่กระซิบบอกภรรยาว่า “เด็กผู้ชายรักศักดิ์ศรี หากเขาเห็นว่าบนข้าวมีโร่วจ้าวเขาอาจคิดว่าเราทำทานแก่เขา หากเป็นอย่างนี้ คราวหน้าเขาจะไม่กล้ามาอีก ถ้าเขาไปกินร้านอื่นก็ได้กินแต่ข้าวเปล่า แล้วจะเอาแรงที่ไหนไปเรียนหนังสือ !”“คุณเป็นคนดีจริงๆ จะช่วยเขายังกลัวเขาอายอีก”“หากผมไม่ดี คุณจะแต่งงานกับผมเหรอ! ” เถ้าแก่หนุ่มหยอกเย้าผู้เป็นภรรยา“ขอบคุณครับ ผมอิ่มแล้ว แล้วเจอกันใหม่ครับ”

เด็กหนุ่มพูดจบก็หยิบข้าวกล่องแล้วเดินออกจากร้านไปเมื่อเด็กหนุ่มถือข้าวกล่องที่ดูหนักกว่าข้าวเปล่าออกจากร้านไป ก็หันมายิ้มให้เจ้าของร้านทั้งสอง“สู้ๆนะ พรุ่งนี้พบกันใหม่” เถ้าแก่พูดและโบกมือให้กับเด็กหนุ่มคนนั้น ในคำพูดประโยคนั้นของเขาแฝงด้วยคำเชิญให้เด็กหนุ่มมากินข้าวที่นี่ใหม่ในวันพรุ่งนี้เด็กหนุ่มน้ำตาคลอ ไม่กล้าหันไปมองเจ้าของร้าน กลัวว่าน้ำตาจะร่วงให้เขาทั้งสองเห็นจากนั้นเป็นต้นมา นอกจากว่าเป็นช่วงปิดเทอม พลบค่ำของทุกวัน เด็กหนุ่มก็จะมากินข้าวที่ร้าน เขาสั่งข้าวเปล่าหนึ่งถ้วยและข้าวเปล่าหนึ่งกล่องเอากลับบ้าน และใต้กล่องข้าวก็จะมีอาหารที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน จนเด็กหนุ่มเรียนจบปริญญาตรี

ผ่านมา20ปีแล้ว ที่ร้านบุฟเฟต์แห่งนี้ไม่ได้ต้อนรับลูกค้าคนพิเศษคนนี้อีกเลยอยู่ๆ ทางการก็ส่งจดหมายมาบอกว่าจะทำการเวนคืนที่และร้านของเขาก็เป็นหนึ่งในนั้น สองสามีภรรยาอายุใกล้จะ50ปี เมื่อรู้ข่าวนี้ต่างก็กลัดกลุ้มใจ ชีวิตต่อไปข้างหน้าจะทำอย่างไร เงินทองที่จะได้จากทางการก็ไม่เพียงพอกับการจัดซื้อบ้านที่มีทำเลดีอย่างนี้ได้อีก แล้วลูกๆที่กำลังเรียนอยู่จะหาค่าเทอมมาจากไหน? ต่างก็กอดกันร้องไห้ไม่รู้จะจัดการกับชีวิตอย่างไรดีเช้าวันหนึ่ง ชายคนหนึ่งแต่งกายภูมิฐานเข้ามาหาสองสามีภรรยา“สวัสดีครับคุณทั้งสอง ผมเป็นรองผู้จัดการบริษัท...

ผู้จัดการใหญ่ของเราต้องการให้คุณเข้าไปทำร้านอาหารบุฟเฟต์ในบริษัทของเราที่กำลังจะทำการเปิดใหม่ในเร็วๆนี้ เรื่องค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งและอุปกรณ์ต่างๆ ค่าวัสดุในการทำอาหารทางเราจะเป็นผู้รับผิดชอบ ขอเพียงคุณจัดหากุ๊กปรุงอาหารและบริหารงานก็พอ ส่วนกำไรแบ่งครึ่งกับบริษัทของเรา”ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทเป็นใครกัน? ทำไมเขาถึงดีกับเราอย่างนี้? เราไม่เคยรู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมเลยสักคนเดียว? สองสามีภรรยาต่างทำหน้างงๆ“คุณทั้งสองเป็นผู้มีพระคุณของผู้จัดการใหญ่ของเรา ท่านบอกว่าท่านชอบกินไข่ตุ๋นชาและโร่วจ้าวของร้านคุณมาก รายละเอียดผมทราบเพียงแค่นี้ นอกเหนือจากนี้คุณคงจะทราบได้เองเมื่อได้เจอกับผู้จัดการใหญ่ของเรา”เมื่อเดินทางไปถึงบริษัท สองสามีภรรยาจึงรู้ว่า

ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทนี้ก็คือเด็กหนุ่มที่มากินข้าวเปล่ายามพลบค่ำทุกวันนั่นเอง หลังจากจบมหาวิทยาลัย เขาก็มุมานะสร้างเนื้อสร้างตัวจนสามารถเปิดบริษัทแห่งนี้ได้ เขาสำนึกบุญคุณข้าวเปล่าที่สองสามีภรรยาให้เขากินตลอดเวลาที่เรียนมหาวิทยาลัย หากไม่มีสองสามีภรรยาช่วยเหลือเขาในตอนนั้น เขาคงลำบากและไม่สามารถเรียนจนจบได้เรื่องราวก่อนเก่าแต่หนหลังถูกรื้อฟื้นขึ้นในวงสนทนาเคล้าเสียงหัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น