++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

@ แม่ที่ตั้งท้องแล้วเครียดมีผลมากเหมือนกัน...

@ แม่ที่ตั้งท้องแล้วเครียดมีผลมากเหมือนกัน...
เนื่องจากภาวะเครียดของมารดาจะทำให้สารเคมีและฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดหลั่งออกมามากขึ้น ทำให้เส้นเลือดที่ไปยังมดลูกและรกเกิดการหดตัว ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลง ผลตามมาทำให้เกิดการแท้ง ทารกเติบโตช้าในครรภ์ ทารกติดเชื้อในครรภ์สูงขึ้น มีรายงานว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะเครียด ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในการตั้งครรภ์ช่วงแรกจะมีอารมณ์ซึมเศร้า และไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
สำหรับผลที่เกิดกับทารกในระยะยาวจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลถึงปัญหาทางจิตใจ และการปรับตัวทางสังคมตามมา
@ จะรู้ได้อย่างไรว่าแม่เครียด
คุณสามารถตรวจสอบตนเองว่ามีอาการและความรู้สึกต่อไปนี้หรือไม่
อาการ
1. ฉันรู้สึกปวดศีรษะ ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
2. ฉันรู้สึกหงุดหงิด ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
3. ฉันรู้สึกวิตกกังวล ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
4. ฉันรู้สึกตื่นเต้นและตกใจ ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
5. ฉันมีปัญหากับการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
6. ฉันรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ไม่ถูกต้อง ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
7. ฉันไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตฉันได้ ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
8. ฉันกังวลว่าทารกในครรภ์จะผิดปกติ ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
9. ฉันกังวลว่าฉันจะสูญเสียทารกในครรภ์ ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
10. ฉันกังวลว่าฉันจะคลอดยากหรือมีปัญหาจากการคลอด ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
11. ฉันกังวลว่าฉันไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าดูแลรักษาได้ ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
12. ฉันอยู่คนเดียวไม่มีสามีคอยดูแล ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
13. ฉันต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
14. ฉันมีปัญหาที่ทำงาน ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
15. ฉันและสามีมีปัญหาระหว่างกัน ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
16. ฉันเคยถูกขู่หรือถูกทำร้ายร่างกาย ไม่มี มีบางครั้ง มีบ่อยๆ
ถ้าตอบว่ามีบางครั้ง มากกว่า 3 ข้อขึ้นไปแสดงว่ามีภาวะเครียด ควรจะหาวิธีลดความเครียด
วิธีการลดหรือคลายความเครียด มารดาควรปฏิบัติดังนี้
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และครบ 3 มื้อ
2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ลดการทำงานลง
5. การพูดคุยหรือระบายความในใจหรือความเครียดกับสามี เพื่อนฝูงที่สนิทสนม หรือกับคุณพ่อคุณแม่
6. ทำกิจวัตรประจำวันหรือสิ่งที่คุณชอบ อย่างน้อยวันละ 20-30 นาที
7. ออกไปเที่ยว ทำกิจกรรมนอกบ้านหรือพักผ่อน
8. นั่งสมาธิ
9. ฝึกโยคะสำหรับสตรีตั้งครรภ์
10. ฝึกจินตนาการ แต่เรื่องที่ดีหรือทำให้เรามี
11. หาความรู้ถึงอาการที่พบบ่อยระหว่างการตั้งครรภ์และวิธีการแก้ไข
12. หลีกเลี่ยงการพึ่งสารเสพติด เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ หรือยาระงับประสาท
13. หาโอกาสอบรมการตั้งครรภ์คุณภาพ เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดและการดูแลบุตรหลังคลอด
ที่มา http://www.rcpsycht.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น